เพลงโหมโรงพุทธชยันตี

ผู้แต่ง

  • วีระศักดิ์ กลั่นรอด วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

โหมโรง, พุทธชยันตี

บทคัดย่อ

เพลงโหมโรงพุทธชยันตี เป็นงานสร้างสรรค์การประพันธ์บทเพลงขึ้นใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับทำนองหลัก การประพันธ์เพลง พุทธประวัติและหลักธรรมทางพุทธศาสนา และสร้างสรรค์ทำนองเพลงโหมโรงพุทธชยันตีที่สะท้อนเหตุการณ์ครั้งพุทธกาล และการปฏิบัติตามหลักธรรมทางพุทธศาสนา เป็นการร่วมการฉลองพุทธชยันตี ครบรอบ 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยใช้เพลงสาธุการเที่ยวน้อย พระเจ้าลอยถาด ตวงพระธาตุ และกราวรำ มาเป็นเพลงหลัก ใช้รูปแบบการยืดขยาย การย่อ การประพันธ์ทำนองใหม่ และการเปลี่ยนทำนอง เป็นเพลงอัตรา 3 ชั้น หน้าทับปรบไก่ ทำนองท่อน 1 ยาว 3 จังหวะหน้าทับ แทนความหมายของไตรลักษณ์ ท่อน 2 ยาว 5 จังหวะหน้าทับ แทนความหมายของศีล 5 และท่อน 3 ยาว 6 จังหวะหน้าทับ สื่อถึงหลักการปฏิบัติ 6 ข้อของพระธรรมทูต ทำนองทางกรอ สื่อถึงความทุกข์โศก และความสงบเยือกเย็น ส่วนทำนองที่เป็นลูกฆ้องอิสระสื่อถึงความเป็นอนัตตาไม่แน่นอน ทำนอง ลูกขัดสื่อถึงความสับสนวุ่นวาย และการต่อสู้ระหว่างกิเลสกับความดีในจิตใจ ทำนองลูกล้อสื่อถึงการปฏิบัติหลักธรรมตามรอยพระพุทธองค์ ใช้ทำนองเสียง เร แทนอริยสัจสี่ ทำนองที่ไล่เสียงจากสูงลงต่ำสื่อถึงการลดละกิเลส ทำนองเรียงขึ้นลงของเสียง ฟา ซอล ลา แทนเสียงสวดมนต์ ทำนองเพลงกราวรำในตอนท้าย แทนการอวยพรแก่ ผู้ปฏิบัติธรรม ในการประพันธ์พบว่าการกำหนดรูปแบบของทำนองที่ต้องการสื่อความหมายกับแบบแผนของการประพันธ์ต้องปรับปรนเข้าหากันอย่างพิถีพิถันและการยึดโครงสร้างเสียงตกจังหวะทุกเสียงของเพลงหลักทั้ง 4 เพลงมีความหมายเป็นมงคลและมีความสมบูรณ์ในสาระของทำนองดนตรี

References

พินิจ ฉายสุวรรณ. (19 กันยายน 2559). ศิลปินแห่งชาติ. สัมภาษณ์.

มนตรี ตราโมท. (2543). บันทึกเพลงไทยผลงานครูมนตรี ตราโมท ชุดโหมโรงครูดนตรีไทย. กรุงเทพฯ: M.T.Pres.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย