อีสานคอรัส: อีสานบ้านของเฮา

ผู้แต่ง

  • ผศ. ดร. ณรงค์รัชช์ วรมิตรไมตรี วิทยาลัยนวัตกรรมการสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การเรียบเรียงเสียงประสาน, อีสานคอรัส, เปียโนพื้นบ้าน, เพลงพื้นบ้านอีสาน, อีสานบ้านของเฮา

บทคัดย่อ

“อีสานคอรัส” เกิดขึ้นจากโครงการประกวดการขับร้องเพลงประสานเสียงระดับอุดมศึกษา จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2554 จากแนวคิดวงขับร้องประสานเสียงในพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน ผู้วิจัยจึงนำชื่อนี้มาเป็นแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานการเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงขับร้องประสานเสียง “อีสานคอรัส” คือการนำเอาเพลงลูกทุ่งอีสานหรือเพลงหมอลำต่าง ๆ และสไตล์การขับร้องแบบหมอลำ มาเป็นวัตถุดิบในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยนำเพลง “อีสานบ้านเฮา” หรือ “อีสานบ้านของเฮา” ประพันธ์โดย พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา ครูเพลงลูกทุ่งอีสานและศิลปินแห่งชาติประจำปี พ.ศ. 2557 และบทเพลงนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะทั้งในด้านการใช้ภาษาและวรรณกรรมที่สามารถสื่อสะท้อนถึงความเป็นอีสานได้อย่างชัดเจน ผู้วิจัยจึงนำบทเพลงนี้มาเป็นวัตถุดิบในการสร้างสรรค์ผลงาน จากนั้นกำหนดกรอบแนวคิดการสร้างสรรค์ คือ ทำการเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงขับร้องประสานเสียง โดยทำการเรียบเรียงเสียงประสานแบบแยกแนวเสียง (Part Writing Harmony) มี 5 แนวคือ โซปราโน อัลโต้ เทเนอร์ บาริโทน และเบส ผสมผสานกับการเรียบเรียงเสียงประสานแบบ “อะคัพเพลา” (A cappella) คือ การใช้เสียงร้องของมนุษย์ทำเสียงเลียนเสียงเครื่องดนตรี สามารถแบ่งเป็น 4 กลุ่มคือ 1) กลุ่มร้องเลียนเสียงเครื่องประกอบจังหวะ 2) กลุ่มร้องเป็นคอร์ดเลียนเสียงแคนและเสียงอื่น ๆ 3) กลุ่มร้องแบบแยกแนวเสียง 4) กลุ่มร้องเสียงเบส แล้วนำมาขับร้อง โดยใช้รูปแบบการร้องแบบผสมผสานระหว่างการร้องแบบคอรัส การร้องเลียนเสียงเครื่องดนตรี และการร้องแบบหมอลำ ร่วมกับการบรรเลงเปียโนประกอบ ซึ่งนำแนวคิดของลายดนตรีพื้นบ้านอีสาน คือ ลายเซิ้ง ลายตังหวาย และลายผู้ไท มาพัฒนาผสมผสานการบรรเลงเปียโนประกอบให้เป็นลักษณะ เฉพาะแบบ “เปียโนพื้นบ้าน” เพื่อทำให้งานสร้างสรรค์ “อีสานคอรัส” นี้มีความโดดเด่นและมีเอกลักษณ์เฉพาะ

References

ทินกร อัตไพบูลย์ (2546). เชิดชูครูเพลง : เนื้อหาและภาษาอีสาน(ลาว) ในบทประพันธ์เพลงของอาจารย์พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา และ อาจารย์สลา คุณวุฒิ. อุบลราชธานี : ศิริธรรมออฟเซ็ท.

ธีร์ อันมัย. (16 กุมภาพันธ์ 2558). ข่าวสด “พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา” ครูเพลงลูกทุ่งอีสาน-ศิลปินแห่งชาติ. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก https://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1424067915

แวง พลังวรรณ. (2545). อีสานคดีชุดลูกทุ่งอีสาน: ประวัติศาสตร์อีสานตำนานเพลงลูกทุ่ง. กรุงเทพฯ: เรือนปัญญา.

_________ . (2556, 1 กุมภาพันธ์). “ผักกะแญง แรกแย้ม: อัตชีวประวัติ พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขาตอนที่ 1”. นิตยสารทางอีศาน ฉบับที่ 10 ปีที่ 1 [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก http://eshann.com/?p=3080ChromeHTML.GNEQR4W2AQVDPKD4A7DZ5BKH3EShellOpenCommand

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย