ดนตรีบำบัด : การพัฒนาเด็กออทิสติกทางด้านการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร

ผู้แต่ง

  • รวมศักดิ์ เจียมศักดิ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

ดนตรีบำบัด, การใช้ภาษา, การสื่อสาร, เด็กออทิสติก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ มุ่งเน้นการพัฒนาเด็กออทิสติกทางด้านทักษะการสื่อสารด้วยภาษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของกิจกรรมดนตรีบำบัดที่มีต่อพัฒนาการทางด้านการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารของเด็กออทิสติก โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กออทิสติกจำนวน 6 คน ที่ศึกษาอยู่ในศูนย์การศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีแบบสังเกตพฤติกรรมและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ผู้ปกครอง (ก่อนเข้าร่วมโครงการกิจกรรมดนตรีบำบัด) แบบสัมภาษณ์ผู้ปกครอง (หลังเข้าร่วมโครงการกิจกรรมดนตรีบำบัด) แบบสัมภาษณ์ครู (ก่อนเข้าร่วมโครงการกิจกรรมดนตรีบำบัด) แบบสัมภาษณ์ครู (หลังเข้าร่วมโครงการกิจกรรมดนตรีบำบัด) ผลการวิจัยพบว่า การเข้าร่วมกิจกรรมดนตรีบำบัดของเด็กออทิสติกช่วยให้เด็กมีพัฒนาทางด้านการใช้ภาษาที่ดีขึ้นโดยลำดับ จากการที่เด็กได้ฝึกร้องเพลง ทำให้ได้เรียนรู้คำศัพท์ในเพลงต่าง ๆ และมีความพยายามในออกเสียงคำเหล่านั้น นอกเหนือจากนี้ ดนตรียังมีผลช่วยให้เด็กมีพัฒนาการในด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น สมาธิ อารมณ์ความรู้สึก ตลอดจนมีปฏิกิริยาการตอบสนองผู้อื่นได้รวดเร็วมากขึ้น

References

กิ่งแก้ว ปาจรีย์. (2553). คู่มือการพัฒนาเด็กออทิสติกแบบองค์รวม. กรุงเทพฯ: พิมพ์สี

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2550). การบำบัดทางเลือกในเด็กพิเศษ. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

บุษกร บิณฑสันต์. (2553). ดนตรีบำบัด. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เบญจมาศ พระธานี. (2554). ออทิสซึม : การสอนพูดและการรักษาบำบัดแบบสหสาขาวิทยาการ. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ราชกิจจานุเบกษา. (2552). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ. 2552. (2552, 8 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 126 ตอนพิเศษ 80 ง, หน้า 45-47.

สาวิตรี รุญเจริญ.(2549). “เด็กพิเศษ กับความพิเศษของชีวิต”. วารสารศูนย์บริการวิชาการมหาวิทยาลัยขอนแก่น. 14, 4: 13-19

อุมาพร ตรังคสมบัติ. (2545). ช่วยลูกออทิสติก คู่มือสำหรับพ่อแม่ผู้ไม่ยอมแพ้. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและพัฒนาการครอบครัว.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย