ศิลปะบำบัดสำหรับผู้ต้องขังชาย

ผู้แต่ง

  • พิเศษ โพพิศ วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

ศิลปะบำบัด, ผู้ต้องขังชาย

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยสร้างสรรค์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ต้องขังในเรือนจำ โดยการใช้ศิลปะบำบัด เช่น การวาดรูปตามจินตนาการ ฝึกทักษะการวาดคนเหมือน ทิวทัศน์ ฝึกการใช้สี การใช้ความคิดสร้างสรรค์ วาดภาพตามหัวข้อที่กำหนด เรียนรู้การวาดภาพการ์ตูนล้อเลียน และศึกษาทฤษฎีการใช้ศิลปะบำบัด ว่าการใช้งานจิตรกรรมบำบัดอย่างไรที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ต้องขังชาย วิเคราะห์ผลงานตามหลักทฤษฎีของวิชาศิลปะผสานกับหลักจิตวิทยา นอกจากนี้มีกิจกรรมให้ผู้ต้องขังได้ลงมือสร้างสรรค์ผลงานบนกำแพงเรือนจำด้วยฝีมือตนเอง เพื่อใช้เป็นที่พักสายตาภายในเรือนจำและเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณชน เพื่อให้ผู้ต้องขังที่เข้าร่วมโครงการมีความสุข ความภาคภูมิใจ ความนับถือในตนเอง เสริมกำลังใจสำหรับการเริ่มต้นชีวิตใหม่เมื่อพ้นโทษ

References

กฤษณะ เดชนะ. (2543). ความพึงพอใจของผู้ต้องขังวัยหนุ่มต่อการจัดสวัสดิการผู้ต้องขังในทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง. สารนิพนธ์มหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2550) ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด. กรุงเทพฯ: สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต.

สุทธิพร เจณณวาสิน. (1 กุมภาพันธ์ 2559). เพื่อนนั้นสำคัญไฉน. [ออนไลน์] เข้าถึงจาก www.si.mahidol.ac.th.

Thomson. (1994). Natural Childhood. London: Gaia Books.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย