การพัฒนารูปแบบหนังสือภาพสำหรับเด็ก “เรื่องกุมารทอง”

ผู้แต่ง

  • กาญจนา ชลสุวัฒน์ วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

หนังสือภาพสำหรับเด็ก, พัฒนารูปแบบ, กุมารทอง

บทคัดย่อ

หนังสือภาพสำหรับเด็กที่มีที่มาจากการจินตนาการจากตัวละครหลักเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดกุมารทอง ซึ่งต่อยอดเรื่องราวขึ้นใหม่เพื่อให้มีความเหมาะสมกับหนังสือภาพสำหรับเด็ก โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อพัฒนาผลงาน วิเคราะห์หาข้อมูล และการปรับปรุงงานสร้างสรรค์หนังสือภาพสำหรับเด็กเรื่องกุมารทอง 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจจากกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อหนังสือภาพสำหรับเด็ก เรื่องกุมารทอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยสร้างสรรค์ คือ เด็กปฐมวัย อายุ 6-9 ปี โรงเรียนวัดศาลาท่าทราย ชั้นประถมศึกษาตอนต้น จำนวน 30 คน ผู้ปกครองและครู จำนวน 30 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย หนังสือภาพสำหรับเด็ก เรื่องกุมารทอง แบบประเมินความพึงพอใจ 1 ฉบับ เป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ผลการวิจัยพบว่า

1) ผลการพัฒนารูปแบบหนังสือภาพสำหรับเด็ก เรื่องกุมารทอง ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญพบว่าคุณภาพของหนังสือภาพสำหรับเด็กเรื่องกุมารทองอยู่ในระดับดี

2) ผลการประเมินความพึงพอใจ ตามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครองและเด็กชั้นประถมศึกษาตอนต้นที่มีต่อหนังสือภาพสำหรับเด็กเรื่องกุมารทองพบว่าอยู่ในระดับมาก

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2532). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพื้นฐานของการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

ปิยพร เศรษฐศิริไพบูลย์. (ม.ป.ป.). หนังสือสำหรับเด็ก. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก http://www.taiwisdom.org/bkvschdrnt/artcl17

รพินทร ณ ถลาง คงสมบูรณ์. (17 ตุลาคม 2555). หนังสือดีเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนไทย [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก http://www.qlf.or.th/Home/Contents/523

วินัย รอดจ่าย. (2544). การเขียนและจัดทำหนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน. กรุงเทพฯ: ตะเกียงทอง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย