การสร้างพระพุทธรูปเกสรดอกไม้ร่วมสมัย
คำสำคัญ:
การสร้างพระพุทธรูป, พระพุทธรูปเกสรดอกไม้บทคัดย่อ
การสร้างสรรค์ครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาลักษณะรูปแบบทางศิลปกรรม และวิเคราะห์ความหมายจากแนวคิดสัญลักษณ์ตามหลักพุทธปรัชญาที่ปรากฏในรูปทรงและองค์ประกอบส่วนต่าง ๆ ของพระพุทธรูปเกสรดอกไม้ศิลปะพม่าในล้านนา ดำเนินการศึกษาด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงสร้างสรรค์ศิลปะ ผลการศึกษาพบว่า พระพุทธรูปเกสรดอกไม้ที่ประดิษฐานอยู่ภายในพุทธสถานศิลปะพม่าในล้านนา มีพุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง สกุลช่างมัณฑะเลย์ และสกุลช่างไทใหญ่ มีโครงสร้างภายในรูปทรงกลวงเป็นโพรง ผิวนอกตกแต่งด้วยเทคนิคการปั้นรัก และลงรักปิดทอง ล่องชาด ประดับกระจกสี กรรมวิธีการสร้างจัดเป็นศิลปะเครื่องเขินของพม่ารูปแบบหนึ่ง รูปแบบและองค์ประกอบของรูปทรงพระพุทธรูปสะท้อนแนวคิดสัญลักษณ์ตามหลักพุทธปรัชญาแบบเถรวาท คือ สัญลักษณ์แทนพระสมณะโคดมพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน สัญลักษณ์จากแนวคิดมหาปุริส- ลักษณะ 32 ประการของพระพุทธเจ้า สัญลักษณ์จากพระพุทธรูปทรงเครื่องหรือพระพุทธรูปปางโปรดพญาชมพูบดี และสัญลักษณ์จากคติการสร้างพระพุทธรูปด้วยเกสรดอกไม้ นอกจากนี้ ผู้ศึกษาได้สังเคราะห์องค์ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษา มาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์พระพุทธปฏิมา ปางมารวิชัย ด้วยดอกไม้ที่พุทธศาสนิกชนนำมาสักการบูชาพระ โดยนำกรรมวิธีการสร้างพระพุทธรูปศิลปะเครื่องเขินมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงคติสร้างงานพุทธศิลป์ในอดีตไปสู่การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ในปัจจุบันที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของภูมิปัญญาอันเป็นแก่นของวัฒนธรรม
References
ไขศรี ศรีอรุณ. (2546). พระพุทธรูปปางต่าง ๆ ในสยามประเทศ. กรุงเทพฯ: มติชน.
ธิดา สาระยา. (2538). มัณฑเล : นครราชธานี ศูนย์กลางแห่งจักรวาล. กรุงเทพฯ: ศรีบุญอุตสาหกรรมการพิมพ์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2550). พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรม อักษร ก-ฮ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. (2553). พระพุทธปฏิมาสยาม. กรุงเทพฯ: มิวเซียมเพรส.
วิลักษณ์ ศรีป่าซาง. (2554). พระเจ้าไม้ล้านนา. เชียงใหม่: สีสันพรรณไม้.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2554). พระพุทธรูปสำคัญและพุทธศิลป์ในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
ศิลป์ พีระศรี. (2545). ประติมากรรมและจิตรกรรมของสยามยุคปัจจุบัน. ม.ป.พ.
สมเกียรติ โลห์เพชรัตน์. (2550). พระพุทธรูปศิลปะพม่า ประวัตศาสตร์ชนชาติพม่ากับปฏิมากรรมในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
สายันต์ ไพรชาญจิตร์. (2545). การศึกษาเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูประเพณีการทำบุญด้วยการสร้างพระพุทธรูปไม้ในจังหวัดน่าน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการพัฒนาชุมชน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุรพล ดำริห์กุล. ล้านนา สิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม. (2542). กรุงเทพฯ: คอมแพคพรินท์ จำกัด.
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2551). ไทใหญ่ ความเป็นใหญ่ในชาติพันธุ์. เชียงใหม่: โครงการพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมและชาติพันธุ์ล้านนา.
หลวงภัณฑลักษณวิจารณ์. (2464). เรื่องท้าวมหาชมพู. กรุงเทพฯ: โสภณพิพรรฒธนาการ.
ฮันท์ เพนธ์. (2519). คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สบศ.