กระบวนการเรียนรู้และการถ่ายทอดความรู้ของชุมชนที่มีต่อปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ผศ. ธัญญาลักษณ์ ใจเที่ยง ภาควิชาศึกษาทั่วไป คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

กระบวนการเรียนรู้, การถ่ายทอดความรู้, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้และการถ่ายทอดความรู้ด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ที่นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต เป็นแบบอย่างที่ดีในชุมชนและคนในชุมชนให้การยอมรับ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการศึกษาจากเอกสารต่าง ๆ แล้วนำมาข้อมูลมาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า

1. กระบวนการเรียนรู้ด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เกิดจาก 1) การสร้างแรงจูงใจ 2) ความรู้ ความเข้าใจ 3) การประยุกต์ 4) การวิเคราะห์ และการประเมิน

2. การถ่ายทอดความรู้ด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 1) ลักษณะของผู้ที่จะถ่ายทอดความรู้ คือ ชอบการเรียนรู้ ชอบลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง พึ่งตัวเองเป็นหลัก 2) ผู้รับการถ่ายทอด คนในครอบครัว เพื่อนบ้าน และคนนอกชุมชน 3) สาเหตุของการถ่ายทอด สิ่งที่พ่อหลวงสอนเป็นสิ่งที่ดีก็ควรจะเผยแพร่ให้กับประชาชนในชุมชนนำไปปฏิบัติ และเพื่อให้ชุมชนเข้มแข็งขึ้น อยู่ดีมีสุข 4) เนื้อหา วิธีการถ่ายทอด และวิธีการวัดความรู้ และติดตามผล ส่วนมากจะถ่ายทอดเนื้อหาในเรื่อง หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การปฏิบัติตามพ่อหลวง วิธีการ ถ่ายทอดด้วยการปฏิบัติให้ดูเป็นแบบอย่าง การสาธิต การวัดความรู้ และติดตามผล สังเกตจากความตั้งใจ ความสนใจ การซักถาม การนำไปปฏิบัติได้ และประเมินตามสภาพจริง

References

แก้วใจ เนตรรางกูล. สัมภาษณ์, 21 กรกฎาคม 2559.

จิราวัลย์ ซาเหลา. (2546). กระบวนการเรียนรู้และการถ่ายทอดศิลปะการแสดงของหมอลำอาชีพ. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณรัชช์อร ศรีทอง. (2556). แนวคิด หลักการ และการปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ดาณุภา ไชยพรธรรม. (2555). เศรษฐกิจพอเพียง ชีวิตต้องรู้จักพอ ก่อนที่จะไม่มีอะไรเหลือให้พอ. กรุงเทพฯ: มายิก.

ธนากร สวารักษ์. ประธานชุมชนหลังวัดราชนัดดา. สัมภาษณ์, 13 สิงหาคม 2559.

ธัญญาลักษณ์ ใจเที่ยง (2558). ทัศนคติของประชาชนในชุมชนเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ต่อการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน. รายงานการวิจัย คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

ธันยาภรณ์ โพธิกาวิน. (2553). กระบวนการเรียนรู้และการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดนตรีประเภทขลุ่ยและแคนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุญมา เหล่อก่อเกียติ. สัมภาษณ์, 16 กรกฎาคม 2559.

ปณตนนท์ เถียรประภากุล. (18 กรกฎาคม 2558). รายงานวิจัยเรื่อง กระบวนการเรียนรู้การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น การปั้นเครื่องปั้นดินเผา บ้านม่อนเขาแก้ว ตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก https://www.tcithaijo.org/index.php/HUSO/article/download/32277/27566

ประทุม แสงอุไร. สัมภาษณ์, 9 สิงหาคม 2559.

ปัทมา โลหาชีวะ. สัมภาษณ์, 15 พฤษภาคม 2559.

พจน์ตะวัน ชินนาสวัสดิ์. ประธานชุมชนท่าเตียน. สัมภาษณ์, 9 สิงหาคม 2559.

พิมพ์ศิริ สุวรรณนาคร. ประธานชุมชนตรอกบ้านพานถม. สัมภาษณ์, 21 กรกฎาคม 2559.

รัชดา ทวนนวรัตร์. ประธานชุมชนโบสถ์พราหมณ์. สัมภาษณ์, 16 กรกฎาคม 2559.

เลอสรวง แจ้งกิจ. สัมภาษณ์, 10 สิงหาคม 2559.

วิมล เตชเลิศไพบูลย์. สัมภาษณ์, 16 กรกฎาคม 2559.

วัลภา สบายยิ่ง. (2558). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชา จิตวิทยาและวิทยาการเรียนรู้ หน่วยที่ 1-7. ใน “หน่วยที่ 3 จิตวิทยาพัฒนาการผู้ใหญ่”. พิมพ์ครั้งที่ 6. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศิริชัย เมฆาประพัฒน์สกุล. ประธานชุมชนวันอินทรวิหาร. สัมภาษณ์, 10 สิงหาคม 2559.

สมศักดิ์ อังศุโกมุทกุล. ประธานชุมชนวัดเทพธิดาราม. สัมภาษณ์, 16 กรกฎาคม 2559.

เสนาะ ช่างสมบูรณ์. ประธานชุมชนวัดนรนาถ. สัมภาษณ์, 15 พฤษภาคม 2559.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (18 กรกฎาคม 2558). เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก http://www.nesdb.go.th/Md/book/learn_suff.pdf

อมรวดี อังคาวุธ. ประธานชุมชนวัดใหม่อมตรส. สัมภาษณ์, 12 สิงหาคม 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย