การจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ไทยในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • แพรภัทร ยอดแก้ว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

คำสำคัญ:

นาฏศิลป์ไทย, การจัดการเรียนรู้, ความฉลาด, 6Q, ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ไทยในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนนาฏศิลป์ไทยของนักเรียนศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนา วันอาทิตย์วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร 3. เพื่อศึกษาการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนที่เรียนนาฏศิลป์ไทย ตามแนวคิด 6Q การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ  แบบมีส่วนร่วม ผู้วิจัยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ ได้แก่ นักเรียนชุมนุมนาฏศิลป์ จำนวน 15 คน ผู้ปกครอง จำนวน 4 คน และพระสงฆ์ จำนวน 1 รูป รวมจำนวนผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ ทั้งสิ้น 20 คน ผลการวิจัยพบว่า

1. ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร การจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ไทยอยู่ในชุมนุมนาฏศิลป์ มีนักเรียนที่สนใจเรียนประมาณ 20 คน อาจารย์ผู้สอนเป็นอาจารย์จิตอาสาที่มีความรู้ทางด้านนาฏศิลป์ไทย เพื่อให้ความรู้แก่นักเรียนในการฟ้อนรำตามแบบกรมศิลป์และนาฏศิลป์พื้นบ้าน

2. นักเรียน มีความพึงพอใจต่อการเรียนนาฏศิลป์ไทยอยู่ในระดับมาก ทั้งโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านอาจารย์ผู้สอน ด้านเพลงรำและท่ารำ ด้านเพื่อนร่วมชั้นเรียนนาฏศิลป์ และด้านบรรยากาศในการเรียน

3. นักเรียนที่เรียนนาฏศิลป์ไทยในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มีการพัฒนาศักยภาพตนเองตามแนวคิด 6Q ได้แก่ ความฉลาดทางสติปัญญา ความฉลาดทางอารมณ์ ความฉลาดในการริเริ่มสร้างสรรค์ ความฉลาดทางศีลธรรม จริยธรรม ความฉลาดที่เกิดจากการเล่นและความฉลาดในการแก้ไขปัญหา

References

กรมการศาสนา. (6 กรกฎาคม 2559). ความสำคัญของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก http://www.dra.go.th/dra_learn/main.php?filename=index_01

กฤษศญพงษ์ ศิริ. (6 กรกฎาคม 2559). กรมศาสนาจัดตั้งศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนา. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก http://m.dmc.tv/dhamma/index.php?action=page&id=17672

ญาณภัทร ยอดแก้ว. (2557). แนวทางการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนในท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของบ้าน วัดและโรงเรียน: กรณีศึกษาศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดโพรงมะเดื่อ จังหวัดนครปฐม. บทความวิจัย, การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ครั้งที่ 6.

ญาณภัทร ยอดแก้ว และแพรภัทร ยอดแก้ว. (2557). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 10 และพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักเรียนในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดโพรงมะเดื่อ จังหวัดนครปฐม. บทความวิจัย, การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ครั้งที่ 11 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

ณรงค์วรรษ บุญมา. (2557). การพัฒนาบทเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารที่เน้นเนื้อหาตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชน ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดโพรงมะเดื่อ นครปฐม. นครปฐม : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

นิสา เมลานนท์. (2555). “การพัฒนานวัตกรรมการสอนวิชานาฏศิลป์เรื่องนาฏลีลานาฏยศัพท์. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 4, 1: มกราคม - มิถุนายน 2555.

ปนัดดา เขียวชะอุ่ม. (2560). ความพึงพอใจต่อการเรียนนาฏศิลป์ไทยของนักเรียนโรงเรียนนาวิกโยธินบูรณะ จังหวัดชลบุรี. ชลบุรี : โรงเรียนนาวิกโยธินบูรณะ.

ประวิทย์ ฤทธิ์บูรณ์. (2558). “นาฏศิลป์ไทย: สื่อทางวัฒนธรรมที่มากกว่าความบันเทิง”. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และสร้างสรรค์, 1, ปี 2558: 106-137.

ปานจันทร์ แสงสวาสดิ์. (2556). การสืบสานนาฏศิลป์ไทยของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปิยวดี มากพา. (2555). “การสังเคราะห์งานวิจัยทางนาฏศิลป์ไทย”. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 14, 1: 112-117.

แพรภัทร ยอดแก้ว. (2557). ความพึงพอใจต่อนวัตกรรมอาเซียนศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชน ในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดโพรงมะเดื่อ จังหวัดนครปฐม. บทความวิจัย, การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ครั้งที่ 11 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

________. (2557). ความพึงพอใจของเยาวชนท้องถิ่นที่มีต่อศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดโพรงมะเดื่อ จังหวัดนครปฐม. บทความวิจัย, การประชุมวิชาการระดับชาติ NPRU ครั้งที่ 6 วันที่ 30-31 พฤษภาคม 2557 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

________. (2558). การส่งเสริมกิจกรรมอาเซียนศึกษาในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดโพรงมะเดื่อ เพื่อเตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน. บทความวิจัย, โครงการสัมมนาวิชาการระดับชาติ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.

________. (2559). การพัฒนาพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักเรียนโดยการอ่านหนังสือนิทานธรรมะ ในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดโพรงมะเดื่อ จังหวัดนครปฐม. บทความวิจัย, การประชุมสังคมศาสตร์วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12 มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.

ระวิวรรณ วรรณวิไชย. (2545). การวิเคราะห์ปริญญานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต ทางด้านนาฏศิลป์ไทยระหว่างปีการศึกษา 2515 ถึง 2543. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุพจน์ เฮงพระพรหมและคณะ. (2557). การพัฒนาระบบสารสนเทศศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดโพรงมะเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. นครปฐม : มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย