นาฏยประดิษฐ์ ชุด พิจิตรเลขาอุ้มสม

ผู้แต่ง

  • ผศ. ดร. ขวัญใจ คงถาวร คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

นาฏยประดิษฐ์, พิจิตรเลขาอุ้มสม

บทคัดย่อ

นาฏยประดิษฐ์ ชุด พิจิตรเลขาอุ้มสม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการรำคู่ชุด “อุ้มสม” และเพื่อสร้างสรรค์การแสดงชุดใหม่ตามแบบนาฏยจารีตของหลวง โดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ การศึกษาจากการชมวีดิทัศน์ การฝึกหัดด้วยตนเอง รวมทั้งประสบการณ์จากการสอนและการแสดง การประชุมกลุ่มย่อยผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อยืนยันข้อมูล

ผลการวิจัยพบว่า กลวิธีการรำอุ้มสม คือ ผู้แสดงจะต้องฝึกปฏิบัติท่ารำให้เกิดความชำนาญจนสามารถปฏิบัติท่ารำได้เสมือนเป็นผู้แสดงคนเดียวกัน จากข้อมูลดังกล่าวผู้สร้างสรรค์ได้นำมาเป็นแนวทางสร้างสรรค์งานตามขั้นตอนดังนี้ 1. วิเคราะห์กระบวนท่ารำจากตำรารำ ซึ่งเป็นต้นแบบของท่ารำที่สืบทอดมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา 2. นำข้อมูลที่ได้มาใช้เป็นพื้นฐานในการสร้างสรรค์ แบ่งเป็น 1) ท่ารำในช่วงทำนองเพลงออก 2) ท่ารำประกอบบทร้องซึ่งประกอบด้วยท่าหลัก ท่าเชื่อมหรือท่าขยาย และท่าโบก 3) ท่ารำทำนองเพลงในช่วงท้าย 3. การคิดรูปแบบการใช้พื้นที่บนเวทีในการแสดง โดยบทที่ใช้ประกอบการแสดงจะนำเค้าโครงจากอนิรุทธคำฉันท์มาประพันธ์บทใหม่ตามฉันทลักษณ์ของกลอนสมัยกรุงศรีอยุธยา บรรจุทำนองเพลงเหาะ เพลงเบ้าหลุดชั้นเดียว และเพลงเชิด บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์เครื่องห้า และแต่งกายเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา

References

กรมศิลปากร. (2540). ตำรารำ. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

_________. (2547). สุนทรียศาสตร์ทฤษฎีแห่งวิจิตรศิลปากร ฉบับที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง จำกัด (มหาชน).

ชมนาด กิจขันธ์. (2547). นาฏยลักษณ์ตัวพระละครแบบหลวง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรีปราชญ์. (2522). อนิรุทธคำฉันท์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: การศาสนา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-30