การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาดนตรีไทยของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีการสอนแบบการค้นหารูปแบบ

ผู้แต่ง

  • ว่าที่ร้อยตรีธนวัน คำมูลพงษ์ โรงเรียนบ้านมณีโชติสามัคคี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 2

คำสำคัญ:

การสอนแบบการค้นหารูปแบบ, ดนตรีไทย, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาดนตรีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีการสอนแบบการค้นหารูปแบบ โดยกลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านมณีโชติสามัคคี จำนวน 36 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แผนการจัดการเรียนรู้ 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูล 1. วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยสอนแบบการค้นหารูปแบบ โดยใช้สถิติพื้นฐานค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2. วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบการค้นหารูปแบบ โดยการทดสอบค่า t (t-test) ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาดนตรีไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผ่านการเรียนรู้แบบการค้นหารูปแบบมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาดนตรีไทยหลังการสอนแบบค้นหารูปแบบสูงกว่าก่อนการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

จิรพรรณ อังศวานนท์. (1 มีนาคม 2562). นักแต่งเพลงอันดับต้น ๆ ของเมืองไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก https://www.guitarthai.com/interview/jirapan/jirapan.asp.

ล้วน สายยศ และอังคนา สายยศ. (2541). เทคนิคการสร้างและสอบข้อสอบความถนัดทางการเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วิเรขา ปัญจมานนท์. (2550). การพัฒนาแบบวัดความถนัดในการเรียนภาษาต่างประเทศตามทฤษฎีคาแนล-เอฟ โดยใช้การทดสอบแบบพลวัตสำหรับนักศึกษาไทยในระดับปริญญาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนัส ฤกษ์สมโภชน์. (2560). รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

อิศรา โรจนบวร. (2549). การสร้างแบบทดสอบวัดความถนัดทางดนตรีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสํานักงานการประถมศึกษาจังหวัดอ่างทอง ปีการศึกษา 2546 โดยใช้เสียงจากเครื่องดนตรีไทย. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Gordon. (1971). The Psychology of Music Teaching, Englewood Cliffs: N.J.: Prentice Hall.

Seashore, C. E., Lewis, D., & Seatveit, J. (1960). Seashore Measures of Musical Talents: Manual. New York: The Psychological Corporation.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-30