การใช้ STEAM Education พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • รัชฎาภรณ์ จันทร์ทอง วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

สะตีมศึกษา, ความคิดสร้างสรรค์, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, วิชาวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้โดยใช้สะตีมศึกษา (STEAM Education) เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อน-หลังเรียนของนักเรียนโดยใช้สะตีมศึกษา 3) ศึกษาความสามารถการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้สะตีมศึกษา 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้สะตีมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ดำเนินการวิจัยโดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะตีมศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการสอนสะตีมศึกษา แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะตีมศึกษาแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ประสิทธิภาพการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์นักเรียนโดยใช้สะตีมศึกษามีค่าเท่ากับ 78.83/78.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (2) ผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์นักเรียนหลังเรียนโดยใช้สะตีมศึกษาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้สะตีมศึกษาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (4) ความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้สะตีมศึกษาอยู่ในระดับดีมาก

References

จารีพร ผลมูล. (2557). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้บูรณาการแบบ STEAM สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3: กรณีศึกษาชุมชนวังตะกอ จังหวัดชุมพร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชนัดดา ภูโปร่งและคณะ. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบสะตีมศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นัสรินทร์ บือชา. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา ความสามารถในการแก้ปัญหาและความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ฟัตมาอัสไวนี ตาเย๊ะ และคณะ. (2558). การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษาที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ความคิดสร้างสรรค์ และความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านบูเก๊ะตาโมง อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

มีนกาญจน์ แจ่มพงษ์. (2559). การพัฒนาชุดฝึกทักษะเพื่อการสร้างสรรค์ชิ้นงานแบบสะตีมศึกษา เรื่องพลังงานรอบตัวเรา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิธีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2556). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สสวท.

อารี พันธ์มณี. (2540). ความคิดสร้างสรรค์กับการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อแกรมมี่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-30