โขนกับสถานการณ์การเมืองสมัยรัชกาลที่ 3
คำสำคัญ:
โขน, สถานการณ์การเมือง, รัชกาลที่ 3บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทบทวนประเด็น กรณีพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ทรงยกเลิกอุปถัมภ์โขนหลวงเพราะสนพระทัยพระพุทธศาสนาจนทำให้โขนหลวงในราชสำนักซบเซา โดยใช้กรอบแนวคิดประวัติศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์การเมืองสมัยรัชกาลที่ 3 มีภัยคุกคามความมั่นคงต่อราชบัลลังก์ สรุปได้ 2 ประเด็น คือ การชิงอำนาจในราชสำนักและการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ยุทธศาสตร์การป้องกันภัยคุกคามราชสำนัก คือ การติดอาวุธทางปัญญาให้ความรู้แก่ประชาชนผ่านทางพระสงฆ์และวัดในพุทธศาสนา การยกเลิกโขนหลวงในราชสำนักเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ ป้องกันการซ่องสุมกำลังในราชสำนักของพระบรมวงศานุวงศ์ และเป็นการนำองค์ความรู้จากราชสำนักเป็นวิทยาทานสู่ชุมชน
References
กรมศิลปากร. (2552). โขน: อัจฉริยลักษณ์แห่งนาฏศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์.
---------------. (2556) โขน: อัจฉริยนาฏกรรมสยาม. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2561). “แกนกลางเศรษฐกิสร้างสรรค์ ทุนทางวัฒนธรรมคืออะไร”. วารสารวัฒนธรรม, 57, 4, [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 29 เมษายน 2562. เข้าถึงจาก http://magazine.culture.go.th/2018/4/mobile/index.html#p=3.
เจ้าพระยาทิพากรวงศ์. (2538). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สบศ.