กลวิธีทางวรรณศิลป์เพื่อสื่อแนวคิดความดีงาม และความเท่าเทียมของมนุษย์ : ลำนำขับขานวิจารณ์บทเพลง
คำสำคัญ:
กลวิธีทางวรรณศิลป์, เนื้อหาความคิด, การวิจารณ์บทคัดย่อ
บทเพลงเป็นกวีนิพนธ์ประเภทเรื่องเล่าที่ใช้ภาษาอย่างเลือกสรร กลั่นกรองด้วยความประณีตบรรจง บทเพลง “เธอหมุนรอบฉัน ฉันหมุนรอบเธอ” เมื่อใช้แนวทางการศึกษาด้วยการวิเคราะห์ วิจารณ์ และตีความแล้ว พบลักษณะเด่น 2 ประการ คือ ลักษณะเด่นด้านกลวิธีและลักษณะเด่นด้านเนื้อหาความคิด ด้านกลวิธีพิจารณา 2 ประเด็น คือ กลวิธีการใช้ภาษาซึ่งพบลักษณะสะดุดเด่นโดยใช้คำเรียบง่ายในความถี่สูงและสื่อความหมายหลายนัย กลวิธีการแต่งที่ใช้ความเปรียบคู่ขนานระหว่างปรากฏการณ์ทางธรรมชาติล้อไปกับพฤติกรรมของมนุษย์ ด้านเนื้อหาความคิดพบลักษณะเด่น 3 ประการ คือ ธรรมชาติกับมนุษย์มีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้น ธรรมชาติ คือ แบบอย่างจริยปฏิบัติของมนุษย์ และสรรพสิ่งล้วนมีคุณค่าและความสำคัญเท่าเทียมกัน ลักษณะเด่นด้านกลวิธีและเนื้อหาความคิดดังกล่าวข้างต้น คือ กลวิธีทางวรรณศิลป์ที่เชื่อมโยงกันอย่างแน่นแฟ้นและเป็นเอกภาพ
References
พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์. (2514). วิทยาวรรณกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2559). ปรัชญาการศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2544). บริบททางการเมืองสังคม วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์เท่าที่มีผลกระทบต่อกวีนิพนธ์ร่วมสมัยของไทย. ใน อรรถภาค เล้าจินตนาศรี (บ.ก.), กวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัย : บทวิจารณ์และกวีนิพนธ์ (น. 3-27). กรุงเทพฯ: ศยาม.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สินธะวา คามดิษฐ์. (2559). “ประเทศไทย 4.0: การศึกษาไทย 4.0”. การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Siamzone. (2551). เนื้อเพลง “เธอหมุนรอบฉัน ฉันหมุนรอบเธอ”. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2562. เข้าถึงจาก https://www.siamzone.com/music/thailyric/5520
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สบศ.