ศิลปะเพื่อบำบัดความเครียดในสถานพินิจและคุ้มครองเด็ก และเยาวชนจังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • พิเศษ โพพิศ วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

ศิลปะบำบัด, ความเครียด

บทคัดย่อ

การวิจัยสร้างสรรค์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบค่าความเครียดของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดสุพรรณบุรี ก่อนและหลังการใช้ชุดรูปแบบกิจกรรมการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่ผู้วิจัยออกแบบขึ้นเอง โดยใช้ทฤษฎีการจัดศิลปะบำบัดของนายแพทย์ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา ตามลำดับดังนี้ 1. สร้างสัมพันธภาพ 2. ค้นหาปัญหา 3. ทบทวนประสบการณ์ 4. เสริมสร้างพลังใจ รวมเวลาการจัดกิจกรรมเป็นเวลา 23 สัปดาห์ (สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง) จำนวนเด็กและเยาวชนทั้งหมด 30 คน และใช้แบบประเมินความเครียด ST-5 ของกรมสุขภาพจิตในการประเมิน ผลของการศึกษาพบว่า 

  1. ก่อนเข้าร่วมโครงการ เด็กและเยาวชน ร้อยละ 10     มีความเครียดน้อย 

   หลังเข้าร่วมโครงการ  เด็กและเยาวชน  ร้อยละ 20     มีความเครียดน้อย

  1. ก่อนเข้าร่วมโครงการ เด็กและเยาวชน  ร้อยละ 70.17 มีความเครียดปานกลาง 

   หลังเข้าร่วมโครงการ  เด็กและเยาวชน  ร้อยละ 73.32 มีความเครียดปานกลาง

  1. ก่อนเข้าร่วมโครงการ เด็กและเยาวชน  ร้อยละ 13.15 มีความเครียดมาก 

    หลังเข้าร่วมโครงการ  เด็กและเยาวชน  ร้อยละ  6.68  มีความเครียดมาก

  1. ก่อนเข้าร่วมโครงการ เด็กและเยาวชน  ร้อยละ  68 มีความเครียดมากที่สุด 

    หลังเข้าร่วมโครงการ เด็กและเยาวชน  ร้อยละ  0     มีความเครียดมากที่สุด

หลังการเข้าร่วมโครงการ พบว่า ไม่มีเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดสุพรรณบุรีที่มีผลการประเมินความเครียดมากที่สุด แต่พบว่ามีค่าความเครียดน้อยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญถึงร้อยละ 10

References

กองสาราณียกร. (2555). “ศิลปะบำบัดศิลปะเยียวยาใจ”. จดหมายข่าวอาทิตย์อัสดง. 4, 11 (มกราคม-มีนาคม 2555).

เทวี ประสาท. (2546). ศิลปะ รากฐานแห่งการศึกษา. นครปฐม : เรือนแก้วการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30