การออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสืบสานเอกลักษณ์จากชุมชนไทยทรงดำ

ผู้แต่ง

  • ธนา น้ำค้าง วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • นุชนาฏ อ้นรักดี วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

การออกแบบผลิตภัณฑ์, เอกลักษณ์ชุมชน, ไทยทรงดำ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสืบสานเอกลักษณ์จากชุมชนไทยทรงดำ โดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อนำเอกลักษณ์และวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตของชาวไทยทรงดำ มาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เพื่อประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม 2. เพื่อให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์จากผลงานการสร้างสรรค์ที่ได้จากเอกลักษณ์ในท้องถิ่น 3. เพื่อสร้างองค์ความรู้และสืบสานเอกลักษณ์จากชุมชนไทยทรงดำ ขอบเขตที่ใช้ในการวิจัย คือ 1. พื้นที่ที่ทำการศึกษา คือ ชาวไทยทรงดำ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 2. ระยะเวลาดำเนินการ คือ ปีงบประมาณ 2562 3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ 1. หาค่าความสอดคล้อง 2. สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 3. ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 123 คน เป็นเพศชาย จำนวน 51 คน (ร้อยละ 41.46) เพศหญิง จำนวน 72 คน (ร้อยละ 58.54) ส่วนใหญ่อายุอยู่ในช่วง 31-39 ปี จำนวน 41 คน (ร้อยละ 33.33) และ 2) ระดับความพึงพอใจที่มีต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสืบสานเอกลักษณ์จากชุมชนไทยทรงดำ ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยที่ 4.42 ส่วนส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.68 พบว่า ผลิตภัณฑ์มีสีสันสวยงาม มีค่าเฉลี่ยสูงสุดที่ 4.61

References

กานต์ธิดา ไชยมา. (2550). รูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าม่อฮ่อม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กิตติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย์. (2550). การวิจัยเชิงคุณภาพในสวัสดิการสังคม : แนวคิดและวิธีจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุญเสริม ตินตะสุวรรณ. (2545). ศึกษาผ้าและเครื่องนุ่งห่มของชาวไทยทรงดำ ตำบลหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ประเวศ วะสี. (2535). ประชาธิปไตย 2535. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

ไพโรจน์ ชาญสิกขกร. (2546). ความคิดเห็นที่มีต่อผลิตภัณฑ์จากผ้าจกบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2532). “ศิลปหัตถกรรม”การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ปีศิลปหัตถกรรมไทย พ.ศ. 2531-2533. ม.ป.พ.

สิริพิชญ์ วรรณภาส และกำจร แซ่เจียง. (2551). การส่งเสริมอาชีพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มสตรีจังหวัดนนทบุรี : การทำผ้าบาติกและมัดย้อมสีธรรมชาติ. ในการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 46, 29 มกราคม-1 กุมภาพันธ์ 2551. กรุงเทพฯ. 534-540.

สุพรรณ สมไทย. (2549). การออกแบบผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้าน โดยแนวคิดจาก วัฒนธรรมชาวไทยทรงดำ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30