การพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน และการเสริมแรงทางบวก

ผู้แต่ง

  • ตวงพร พจนานนท์ โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง จังหวัดระยอง

คำสำคัญ:

ทักษะการปฏิบัติ, ท่ารำ, การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน, การเสริมแรงทางบวก

บทคัดย่อ

การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อการพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุที่ผู้เรียนไม่สามารถปฏิบัติท่ารำได้ และเพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน และการเสริมแรงทางบวก โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 5 คน โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกตพฤติกรรม ผลการวิจัย พบว่า

  1. สาเหตุที่ผู้เรียนไม่สามารถปฏิบัติท่ารำได้ เนื่องจากการจัดการเรียนการสอน ในรายวิชานาฏศิลป์ไทย เน้นวิชาทฤษฎีมากกว่าเน้นการปฏิบัติ ผู้เรียนจึงขาดความสนใจฝึกฝน อีกทั้งหลักสูตรเน้นการเรียนการสอนรายวิชาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จึงทำให้ผู้เรียนไม่มีความสามารถในทักษะการปฏิบัติได้มากพอสำหรับวิชานาฏศิลป์ไทย
  2. ผลการศึกษาการพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำของผู้เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนและการเสริมแรงทางบวก พบว่าผู้เรียนมีทักษะที่ดีขึ้น โดยผู้เรียนสามารถจดจำท่ารำและปฏิบัติท่ารำได้ และภายหลังผู้สอนเพิ่มกระบวนการในการเสริมแรงทางบวกให้แก่ผู้เรียน พบว่าผู้เรียนมีพัฒนาการทักษะปฏิบัติที่ดีมากยิ่งขึ้น ผู้เรียนทุกคนสามารถจดจำท่ารำและปฏิบัติท่ารำได้

References

จรรย์สมร ผลบุญ และมณฑล ผลบุญ. (2561). การพัฒนาระบบการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติท่ารำที่ใช้ในงานนาฏศิลป์. สงขลา : มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

ณัฐพัชร์ มหายศนันท์, กานต์พิชชา นุ่มพรม, ทรงพล อินทำ และอุษณีย์ เขนยทิพย์. (2561). “การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์เพื่อเสริมทักษะเรื่องระบำอาเซียนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตามทฤษฎีการเรียนรู้ของซิมพ์ซัน”. วารสารวิชาการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 5, 1: 151-161.

นาทนภา ตรีอุบล. (2558). “การศึกษาวิธีการเสริมสร้างนิสัยฝึกฝนตนเองในการฝึกทักษะนาฏศิลป์”. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 10, 4: 365-377.

บุษยากร ซ้ายขวา, ผาสุข บุญธรรม และเพ็ญพิศุทธิ์ ในสนิท. (2560). “การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer-assisted Learning) เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชนเผ่า ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6”. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 10, 3: 77-86.

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคนอื่น ๆ. (2545). การจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

สุชา จันทร์เอม และสุรางค์ จันทร์เอม. (2523). จิตวิทยาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โอเดียน สโตร์.

เสาวรี ภูบาลชื่น. (2560). “การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบทางตรงร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านทักษะปฏิบัติ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจ วิชาศิลปะ สาระนาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ที่ 5”. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11, 2: 211-221.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30