การแก้ปัญหานักเรียนร้องเพลงไม่ตรงจังหวะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมหาวีรานุวัตร โดยใช้การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน

ผู้แต่ง

  • นนทชัย จับใจสุข โรงเรียนมหาวีรานุวัตร กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

การแก้ไขการร้องเพลงไม่ตรงจังหวะ, การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสาเหตุของการร้องเพลงไม่ตรงจังหวะของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมหาวีรานุวัตร และเพื่อศึกษาผลการแก้ปัญหาการร้องเพลงไม่ตรงจังหวะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมหาวีรานุวัตร โดยวิธีการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมหาวีรานุวัตร กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 5 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. สาเหตุที่ผู้เรียนไม่สามารถร้องเพลงให้ตรงจังหวะได้ เกิดจากการที่ผู้เรียนไม่สามารถจดจำเนื้อเพลงทั้งหมดได้ ขาดความมั่นใจในการร้องเพลง มีปัญหาทางด้านทำนองของเพลง ทั้งการร้องเสียงสูงและเสียงต่ำ และการที่ผู้เรียนไม่สามารถร้องเพลงให้ตรงจังหวะของการย่ำเท้าและการปรบมือในขณะปฏิบัติท่ารำได้

2. ผู้เรียนมีทักษะการร้องเพลงที่ดีขึ้น โดยในสัปดาห์ที่ 1 ผู้เรียนมีทักษะการร้องเพลงในภาพรวมหลังการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนดีขึ้นกว่าก่อนเริ่มจัดการเรียนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน สามารถจดจำเนื้อเพลง ลดอาการประหม่า มีความมั่นใจในการร้องเพลงเพิ่มมากขึ้น สามารถออกเสียงตามทำนองของเพลง และให้ตรงจังหวะของเพลง

References

ชลทิตย์ ศิริโมทย์. (2562). การร้องเพลงเบื้องต้น. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2562. เข้าถึงจาก http://c5700504.blogspot.com/2015/11/blog-post_13.html

วรรณิศา ละอองศรี. (2562). เทคนิคการร้องเพลง. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2562. เข้าถึงจาก https://wnslosamxz.wordpress.com/เทคนิคการร้องเพลง/

สายัณห์ นาคเถื่อน. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้วิธีการเรียนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-3. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2562. เข้าถึงจาก https://data.bopp-obec.info/emis/news/news_view_school.php?ID_New=12832

สุมิตร เทพวงษ์. (2548). นาฏศิลป์ไทย : นาฏศิลป์สำหรับครูประถมศึกษา-อุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2541). คู่มือและสื่อการพัฒนาจิตพิสัยในระบบการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: การศาสนา.

อติกันต์ ภูดีทิพย์. (2552). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และพฤติกรรม

คุณธรรม จริยธรรม พื้นฐาน 8 ประการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน. สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30