การพัฒนาทักษะการเป่าขลุ่ยของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการสอนเสริม
คำสำคัญ:
ทักษะการเป่าขลุ่ย, การสอนเสริมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการฝึกปฏิบัติด้านทักษะ การเป่าขลุ่ยของผู้เรียน และพัฒนาทักษะการเป่าขลุ่ยโดยใช้การสอนเสริม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ที่ปฏิบัติเครื่องดนตรีขลุ่ยไม่ได้ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1. แบบบันทึกพฤติกรรมในห้องเรียน 2. แบบสังเกตพฤติกรรมก่อนและหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ การหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า
1. สาเหตุที่ผู้เรียนไม่สามารถปฏิบัติเครื่องดนตรีขลุ่ยได้เกิดจากการที่ผู้เรียนขาดประสบการณ์ในการเรียนรู้ทางด้านดนตรีหรือเครื่องดนตรี ทำให้ไม่สามารถจับเครื่องมือขลุ่ยให้ถูกต้อง ขาดพื้นฐานในการเล่นเครื่องดนตรีขลุ่ย ทั้งนี้เมื่อต้องการฝึกฝนด้วยตนเอง พบว่า ขาดผู้ให้คำแนะนำ และขาดเวลาในการฝึกฝนเพิ่มเติมนอกเวลาการเรียนรู้ปกติภายในชั้นเรียน
2. ภายหลังการสอนเสริม พบว่า ผู้เรียนมีทักษะในการปฏิบัติเครื่องดนตรีขลุ่ยดีขึ้นมากกว่าการสอนปกติ โดยผู้เรียนทั้งหมดสามารถจับขลุ่ยได้ จดจำโน้ตได้ อ่านโน้ตเพลงได้ และเปิด-ปิดรูในการเป่าขลุ่ยได้ถูกต้อง โดยมีผู้เรียนที่สามารถใช้ลมเป่าขลุ่ยในเพลงที่กำหนดได้ถูกต้อง จำนวน 3 คน และมีพัฒนาการที่ดีขึ้นทุกคน
References
เชาวพันธุ์ พลชะติน. (2556). ดนตรีไทย. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2562. เข้าถึงจาก www.elfar.ssru.ac.th›content›ประวัติดนตรีไทย
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2541). จิตวิทยาการสอนดนตรี. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณิชัชฌา อาโยวงษ์. (2557). กิจกรรมเสริมความรู้. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2562. เข้าถึงจาก https://krunichatcha.wordpress.com/งานการสอน/กิจกรรม/กิจกรรมเสริมความรู้ทาง/
ปฐมพงศ์ ศุภเลิศ. (2555). การสอนซ่อมเสริม. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2562. เข้าถึงจาก https://www.gotoknow.org/posts/57970
พูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล. (2551). ประวัติของขลุ่ย. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2562. เข้าถึงจาก http://suriyothai.ac.th/library/teachershow/poonsak/thai_flute/sec01p01.html
วรัญญา ศรีวรบุตร. (2556). เรียนดนตรีให้ประสบความสำเร็จ. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2562. เข้าถึงจาก https://www.gotoknow.org/posts/557590
วิรากร ธนะกิตติภูมิ และพงษ์พิทยา สัพโส. (2559). “สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนา การเรียนการสอนดนตรี ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิต สังกัดมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10, 3: 187-193.
อุทัย ศาสตรา. (2561). “การสร้างสรรค์ดนตรีไทย : แนวคิดและแนวทางการเรียนการสอน”.
วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46: 554-569.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สบศ.