นาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ : ฉุยฉายนารีผีเสื้อสมุทรจำแลง

ผู้แต่ง

  • รศ. ดร. จินตนา สายทองคำ คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

นาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์, ฉุยฉาย, ผีเสื้อสมุทร

บทคัดย่อ

ผลงานเรื่องนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ฉุยฉายนารีผีเสื้อสมุทรจำแลง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทความสำคัญของนางผีเสื้อสมุทรในเรื่องพระอภัยมณี และสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์ไทยในรูปแบบจารีตการรำฉุยฉาย ดำเนินการสร้างสรรค์งานตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ

ผลการศึกษานำมาสู่การสร้างสรรค์ พบว่า บทบาทความสำคัญของนางผีเสื้อสมุทรในเรื่องพระอภัยมณี มีปรากฏ 3 ตอน คือ ตอนที่ 2 นางผีเสื้อลักพระอภัยมณี ตอนที่ 9 พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ และตอนที่ 14 พระอภัยมณีเรือแตก นางผีเสื้อสมุทรเป็นตัวละครสำคัญที่เป็นสัญลักษณ์เด่นของเรื่อง นำสู่แนวคิดในการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทยที่สื่อถึงอัตลักษณ์ของตัวละครชุดฉุยฉายนารีผีเสื้อสมุทรจำแลง ดำเนินการสร้างสรรค์ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างแนวคิดของการแสดงมุ่งเน้นอัตลักษณ์ตัวละคร นางผีเสื้อสมุทร 2) การสร้างสรรค์บทร้องทำนองเพลงดนตรีประกอบการแสดงโดยประพันธ์คำร้องขึ้นใหม่ตามจารีตการรำฉุยฉายใช้ดนตรีปี่พาทย์เครื่องห้า 3) กำหนดผู้แสดงที่มีพื้นฐานนาฏศิลป์ไทยตัวนาง 4) การออกแบบกระบวนท่ารำ ใช้ท่ารำนาฏศิลป์ไทยตัวนางผสมผสานท่ารำที่แสดงถึงชาติกำเนิดเดิมของตัวละคร คือ นางยักษ์ 5) การออกแบบเครื่องแต่งกายกำหนดให้แต่งกายยืนเครื่องนางห่มสไบสองชายสีเหลืองขลิบแดง ศิราภรณ์รัดเกล้าเปลว 6) นำเสนอผลงานสร้างสรรค์ต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ข้อเสนอแนะในการสร้างงาน และ 7) เผยแพร่การแสดงสู่สาธารณชน

References

ธรรมรัตน์ โถวสกุล. (2543). นาฏยศิลป์ในโครงการนาฏยศิลป์ของภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขานาฏยศิลป์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปราณี สำราญวงศ์. (2529). บทละครเรื่องพระอภัยมณี ตอนพบสามพราหมณ์ – หนีผีเสื้อ. อัดสำเนา.

พัชรินทร์ สันติอัชวรรณ. (2561). “หลักนาฏยประดิษฐ์ไทยจากศิลปินต้นแบบตัวนางสู่นวัตกรรมการสร้างสรรค์รำเดี่ยวมาตรฐาน”. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 5, 2: 83-94.

มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (2563). การผสมวง ในสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 1 เรื่องที่ 9 ดนตรีไทย. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 14 มกราคม 2563. เข้าถึงจาก https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=1&chap=9&page=t1-9-infodetail02.html

วีระ บัวงาม. (2560). “นาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ชุดสำมนักขาทรงเครื่อง”. วารสารสถาบันวัฒนธรรม และศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 1, 39: 10-23.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2543). นาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ: ห้องภาพสุวรรณ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30