การพัฒนาหน่วยย่อยเอกในบทเพลงกลอลิโอซาของยาซูฮิเดะ อิโตะ
คำสำคัญ:
การวิเคราะห์บทเพลง, การพัฒนาหน่วยย่อยเอก, กลอลิโอซาบทคัดย่อ
การศึกษาการพัฒนาหน่วยย่อยเอก (โมทีฟ) ในบทเพลงกลอลิโอซาของยาซูฮิเดะ อิโตะ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์การใช้โมทีฟในบทเพลงกลอลิโอซาของยาซูฮิเดะ อิโตะ ผลการศึกษาพบว่า เพลงนี้มีเอกลักษณ์ความเป็นชาติญี่ปุ่นอย่างชัดเจน มีสังคีตลักษณ์ที่เป็นแบบแผนดนตรีตะวันตก แต่ผสมผสานเข้ากับความเป็นดนตรีตะวันออกได้อย่างลงตัว บทเพลงกลอลิโอซาของยาซูฮิเดะ อิโตะ แบ่งออกเป็น 3 ท่อน นำเสนอบทเพลงผ่านการใช้ทำนองเพลงสวดเกรกอเรียนมาเป็นทำนองหลักและกุญแจเสียงของบทเพลง นอกเหนือจากนั้นบทเพลงยังใช้ทำนองพื้นบ้านสร้างเป็นโมทีฟหลักของบทเพลงและพัฒนาใช้ตลอดทั้ง 3 ท่อน โดยโมทีฟเกิดขึ้นในจังหวะอ่อน (Weak beat) ในลักษณะโน้ตเขบ็ตหนึ่งชั้นหรือบางครั้งในเขบ็ตสองชั้นขึ้นอยู่กับการพัฒนาของโมทีฟในแต่ละที่ โมทีฟถูกพัฒนาต่อจนเป็นทำนองเพลง โดยโมทีฟหรือทำนองเพลงนี้ถูกนำเสนออย่างเป็นประจำตลอดทั้ง 3 ท่อน จนทำให้บทเพลงมีเอกภาพ สามารถฟังและจดจำได้ ตัวโมทีฟและทำนองหลักได้โดยง่าย จนทำนองเพลงกลายเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ผู้วิจัยจึงได้นำบทเพลงกลอลิโอซาของ ยาซูฮิเดะ อิโตะ มาวิเคราะห์การพัฒนาโมทีฟและการใช้นำเสนอตลอดทั้ง 3 ท่อน ที่ทำให้บทเพลงนี้เป็นที่จดจำ เพื่อศึกษาและหาแนวทางในการพัฒนาโมทีฟของอาจารย์ ยาซูฮิเดะอิโตะ ในบทเพลงกลอลิโอซาเพื่อให้เป็นแนวทางในการประพันธ์ให้แก่นักประพันธ์เพลงชาวไทย ได้ใช้แนวทางของอิโตะ ในการนำทำนองหรือโมทีฟในเพลงไทยมาเป็นวัตถุดิบในการพัฒนาทำนองและสร้างเพลงให้มีเอกภาพและนำเสนอสู่สากล ทั้งนี้ผู้ประพันธ์แต่ละบุคคลอาจพบแนวทางในการศึกษาและวิเคราะห์ที่แตกต่างกันออกไป โดยสามารถนำแนวทางการวิเคราะห์ในวิจัยนี้ไปประยุกต์ใช้ในบทเพลงอื่น ๆ ได้อีกด้วย ผู้วิจัยคาดหวังว่าบทความวิชาการฉบับนี้สามารถนำมาซึ่งประโยชน์แก่ผู้สนใจศึกษาในอนาคตได้
References
Ito, Y. (1995). WASBE Concert. WASBE International Youth Wind Orchestra. “Cantus” from “Gloriosa”/“Symphonic Poem for Band” KOCD-4553.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สบศ.