ตำนานนักบุญ : การศึกษาอนุภาคและแบบเรื่องตำนานบุคคลศักดิ์สิทธิ์ ในคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก

ผู้แต่ง

  • อติวิชญ์ เซี่ยงคิ้ว นิสิตหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ผศ. ดร. ภาณุพงศ์ อุดมศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การศึกษาอนุภาค, การศึกษาแบบเรื่อง, ตำนานบุคคลศักดิ์สิทธิ์, คริสต์ศาสนานิกาย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมุ่งศึกษาแบบเรื่องและอนุภาคของตำนานนักบุญในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกในบริบทสังคมไทย ตามแนวทางการจำแนกแบบเรื่องนิทานพื้นบ้านสากลของสติธ ทอมป์สัน โดยรวบรวมตำนานนักบุญที่อยู่ในบริบทของสถานศึกษา จำนวน 13 สำนวน มาวิเคราะห์อนุภาคและแบบเรื่องในฐานะตำนานบุคคลศักดิ์สิทธิ์ ผลการศึกษาพบว่า ตำนานนักบุญที่นำมาศึกษาปรากฏอนุภาคที่สำคัญ 8 อนุภาค ได้แก่ อนุภาคอัครทูตสวรรค์ อนุภาคการทำนายอนาคต อนุภาคการตั้งครรภ์ที่ผิดธรรมชาติ อนุภาคการยอมรับความยากจน อนุภาคการเป็นมรณสักขี อนุภาคการสร้างกุศล อนุภาคความกล้าหาญ อนุภาคความมีศรัทธาอย่างแรงกล้า ด้านการจำแนกแบบเรื่องสามารถจำแนก ได้ 4 รูปแบบ คือ 1. แบบเรื่องเทวดาแจ้งข่าวมีอนุภาคเด่น คือ เทวดาปรากฏตัวต่อหน้ามนุษย์ เทวดาทำนายอนาคตลูกของมนุษย์คนนั้นและการการตั้งครรภ์ที่ผิดธรรมชาติ 2. แบบเรื่องธรรมทูต แบ่งออกเป็น 2 แบบเรื่องย่อย คือ แบบเรื่องธรรมทูตมรณสักขี มีอนุภาคเด่น คือ นักบวชถูกจับกุม ทรมาน และยอมสละชีพเพื่อยืนยันความศรัทธา และแบบเรื่องธรรมทูตทั่วไป มีอนุภาคเด่น คือ นักบวชประกาศพระวัจนะท่ามกลางความยากลำบาก 3. แบบเรื่องการสร้างกุศล มีอนุภาคเด่น คือ นักบวชยอมรับความยากจนและทำงานหนักและก่อตั้งองค์กรเพื่อการกุศล และ 4. แบบเรื่องเบ็ดเตล็ด ซึ่งเป็นแบบเรื่องที่ไม่สามารถจำแนกได้จำนวน 3 สำนวน แบบเรื่องและอนุภาคเด่นเหล่านี้เป็นตัวอย่างของผู้มีศรัทธาอย่างแรงกล้าดำเนินตามรอยของพระเยซูเจ้าและเป็นตัวอย่างการดำเนินชีวิตศักดิ์สิทธิ์ให้แก่นักเรียนในสถานศึกษาซึ่งมีชื่อสถานศึกษาเกี่ยวเนื่องด้วยนักบุญแต่ละองค์ได้เป็นอย่างดี

References

ประคอง นิมมานเหมินท์. (2551). นิทานพื้นบ้านศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระคัมภีร์คาทอลิก ฉบับสมบูรณ์. (2014). กรุงเทพฯ: คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสต์ ศาสนธรรม แผนกพระคัมภีร์.

โรงเรียนเซนต์ดอมินิก. (2563). คู่มือนักเรียน ประจำปีการศึกษา 2563. กรุงเทพฯ: โรงเรียนเซนต์ดอมินิก.

วีณา โกวิทวานิชย์. (2549). นักบุญฟรังซิส เซเวีย อัครสาวกแห่งตะวันออกไกล (ค.ศ.1506-1552). กรุงเทพฯ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย.

ศิราพร ณ ถลาง. (2557). ทฤษฎีคติชนวิทยา : วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน - นิทานพื้นบ้าน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกณ์มหาวิทยาลัย.

สมคมแดง สมปวงพร. (2548). ฌาน ดาร์ก : นักรบของพระเจ้า. กรุงเทพฯ: คุ้มคำ.

สายป่าน ปุริวรรณชนะ. (2548). ลักษณะเด่นของตำนานประจำถิ่นริมแม่น้ำและชายฝั่งทะเลภาคกลางของไทย. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

_________. (2555). อิทธิปาฏิหาริย์กับการสร้างเรื่องเล่าศักดิ์สิทธิ์ : ขนบนิยมและพลวัตในประวัติพระเกจิอาจารย์ในสังคมไทยภาคกลาง. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสาวลักษณ์ อนันตศานต์. (2543). ทฤษฎีคติชนและวิธีการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Aarne, A., & Thompson, S. (1973). The Types of the Folktale: A Classification and Bibliography. In L. Honko Ed., Folklore Fellows Communications (3rd ed., Vol. 184). Helsinki: Suomalainen Tiedeakatemia.

Thompson, S. (1946). The folktale. New York: Dryden press.

Thurston, H. (1908). Saints and Martyrs (Christian). In J. Hastings (Ed.), Encyclopsedia of Religion and Ethics (Vol. 11). New York: Charles Scribner's Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30