พัฒนาการของวงปี่พาทย์มอญในอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • จักกฤษณ์ วัฒนากูล สาขาวิชาดนตรีศึกษา ภาควิชาดุริยางคศิลปศึกษา คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

พัฒนาการ, วงปี่พาทย์มอญ, อำเภอเมือง, จังหวัดสุพรรณบุรี

บทคัดย่อ

บทความทางวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ในการบรรเลง และรูปแบบการพัฒนาวงปี่พาทย์มอญในอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่าบทบาทหน้าที่ของวงปี่พาทย์มอญในการบรรเลงประกอบพิธีกรรมในงานศพ เป็นการบรรเลงเพื่อสร้างความไพเราะในช่วงเวลาที่เว้นว่างจากพิธีกรรมภายในงานเพื่อไม่ให้เกิดความเงียบเหงาและผ่อนคลายความโศกเศร้า หลังจากเสร็จพิธีสงฆ์ในช่วงกลางคืนแล้ววงปี่พาทย์มอญจะบรรเลงไปจนถึงเวลาสี่ทุ่ม และช่วงเช้ามืดของวันใหม่จะเริ่มบรรเลงในเวลาตีห้า ซึ่งถือว่าเป็นบทบาทและค่านิยมวงปี่พาทย์มอญในอำเภอเมืองสุพรรณบุรีที่ยึดถือปฏิบัติกันมาช้านาน รวมถึงการพัฒนาวงปี่พาทย์มอญในรูปแบบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อให้มีความสอดคล้องกับสังคมในยุคปัจจุบัน เช่น ใช้หลอดไฟฟ้า (LED) ประดับตกแต่งตามลักษณะของเครื่องดนตรี และยกระดับการตั้งเครื่องปี่พาทย์โดยใช้ขาตั้งและผ้าม่านคลุมในรูปแบบสีสันสวยงาม รวมถึงการแต่งกายที่มีการปรับเปลี่ยนตามวันเวลาเพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของงานนั้น ๆ และมีการปรับเปลี่ยนหน้ากลองมาใช้วัสดุหนังแก้วแทนหนังสัตว์เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย ซึ่งรวมไปถึงการแสดงความสามารถการตีเปิงมางคอก เพื่อแสดงลีลาทักษะของคนเครื่องหนังว่าดึงดูดผู้ชมภายในงานได้มากเพียงใดเพราะนั่นคือการนำมาซึ่งชื่อเสียงของวงปี่พาทย์มอญ

References

เกียรติศักดิ์ คงมาลัย. (2563). เปิงมางคอก. ภาพถ่าย.

ธนู วิสุทธิวงศ์. (2515). วงปี่พาทย์มอญและรางหงสา. ภาพถ่าย.

_________. (2562). วงปี่พาทย์มอญคณะประคองศิลป์. ภาพถ่าย.

_________. (2563). การแต่งกายนักดนตรีไทยวงปี่พาทย์มอญ. ภาพถ่าย.

พวงผกา คุโรวาท. (2539). ศิลปและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.

รังสรรค์ บัวทอง. (2547). วัฒนธรรมการสืบทอดวงปี่พาทย์มอญในอำเภอเมืองสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.

วีระ พันธุ์เสือ. (2558). ปี่พาทย์มอญ. กรุงเทพฯ: ศรีเสน่ห์การพิมพ์.

สมเกียรติ หอมยก. (2546). วงดนตรีเจริญ : ปี่พาทย์มอญของจังหวัดปทุมธานี.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-24