การศึกษาแนวคิดการสร้างผลงานสร้างสรรค์ ของวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
แนวคิดการสร้างงาน, ผลงานสร้างสรรค์, วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราชบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวคิดและรูปแบบการสร้างผลงานสร้างสรรค์ของวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผลงานสร้างสรรค์ของวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช ที่สร้างสรรค์ขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2528–2563 จำนวน 17 ชุด เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกเกี่ยวกับแนวคิดการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ ประกอบด้วยแนวคิด 4 แนวคิด ได้แก่ ประเพณีและพิธีกรรม เอกลักษณ์ท้องถิ่น ศิลปาชีพ และเบ็ดเตล็ด อีกทั้งแบบบันทึกเกี่ยวกับรูปแบบของนาฏศิลป์สร้างสรรค์แบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ได้แก่ การยึดถือแบบแผนจารีตเดิม การผสมผสานจารีต การประยุกต์หรือปรับปรุงจารีต และการคิดใหม่หรือสร้างจารีตใหม่ มีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการ (checklist) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย (descriptive statistic) การแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดการสร้างผลงานสร้างสรรค์ของวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราชทั้ง 17 ชุด ส่วนใหญ่มีแนวคิดการสร้างสรรค์มาจากศิลปาชีพ จำนวน 7 ชุด คิดเป็นร้อยละ 41.2 รองลงมาคือเอกลักษณ์ท้องถิ่น จำนวน 6 ชุด คิดเป็นร้อยละ 35.3 และประเพณีและพิธีกรรม จำนวน 3 ชุด คิดเป็นร้อยละ 17.6 ตามลำดับ โดยมีรูปแบบ การสร้างสรรค์นาฏศิลป์จากการผสมผสานนาฏยจารีต จำนวน 10 ชุด คิดเป็นร้อยละ 58.8 รองลงมาคือการยึดถือแบบแผนนาฏยจารีตเดิม จำนวน 5 ชุด คิดเป็นร้อยละ 29.4 และการประยุกต์หรือปรับปรุงนาฏยจารีต จำนวน 2 ชุด คิดเป็นร้อยละ 11.8 ตามลำดับ
References
นพศักดิ์ นาคเสนา. (2546). นาฏยประดิษฐ์ : ระบำพื้นเมืองภาคใต้. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ศิลปกรรมศาสตร์ (นาฏยศิลป์ไทย) บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นาฏศิลปสร้างสรรค์. (2561). ระบำชนวัว. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2564. เข้าถึงจาก https://www.youtube.com/watch?v=gMzQUry1tnc
นุสรา นบนอบ. (2556). ระบำย่านลิเพา. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2564. เข้าถึงจาก https://www.youtube.com/watch?v=h_XyR9L144w
ฝ่ายศิลปวัฒนธรรม วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช. (2557). ผันหลังแลโนรา. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2564. เข้าถึงจาก https://web.facebook.com/264771070353425/posts/324692354361296/?_rdc=1&_rdr
พีรพงศ์ เสนไสย. (2546). นาฏยประดิษฐ์. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.
วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช. (2559). ระบำนบพระบรมธาตุ. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2564. เข้าถึงจาก https://www.youtube.com/watch?v=ewnwBnYzP2k
__________. (2562). ลายถมเมืองนคร. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2564. เข้าถึงจาก https://www.youtube.com/watch?v=rNf6e7evrqY
เศกสรร แสงจินดาวงศ์เมือง. (2551). ระบำทักษิณาพัตราภรณ์. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2564. เข้าถึงจาก https://www.gotoknow.org/posts/145066
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (2563). มหกรรมศิลปวัฒนธรรมไทย “เบิกฟ้าบัณฑิตพัฒนศิลป์ สู่แผ่นดินถิ่นอีสาน. นครปฐม : สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
สุภางค์ จันทวานิช. (2559). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โสรฎา บุญวงศ์. (2563ก). ระบำกาหยู. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2564. เข้าถึงจาก https://www.youtube.com/watch?v=7pqoTD45boQ
__________. (2563ข). ระบำทอยล้อ. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2564. เข้าถึงจาก https://www.youtube.com/watch?v=Xu3rvPAS4zM
__________. (2563ค). ระบำนารีศรีนคร. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2564. เข้าถึงจาก https://www.youtube.com/watch?v=wB0x7qUCGW0.
อธิศร์ เทียนประเสริฐ. (2557). “วิจัยกับการสร้างสรรค์งานศิลป์”. จดหมายข่าวประชาคมวิจัย, 20, 115: 1-58.
krutuy99. (2554). ระบำกรีดยาง. [online]. Retrieved 2564, 15 March. from https://www.youtube.com/watch?v=14xH45zEoq4
lapusrada phosae. (2559a). บาบ๋า ย่าหยา. [online]. Retrieved 2564, 16 March. from https://www.youtube.com/watch?v=mttct5L9vaw
__________. (2559b). ระบำพัสตราบาติก. [online]. Retrieved 2564, 16 March. from https://www.youtube.com/watch?v=3TB3dlro1lo
RMUTT Channel. (2562). ระบำแกะหนัง. [online]. Retrieved 2564, 16 March. from https://www.youtube.com/watch?v=G63wG-5IUbQ&list=ULpRyj9Cp5e68&index=722
Siam Thai. (2560). ระบำชนไก่. [online]. Retrieved 2564, 16 March. from https://www.youtube.com/watch?v=O9BgGHpAJvw
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สบศ.