การแปลความหมายสัญลักษณ์ในงานทัศนศิลป์สู่การพัฒนาผลงานศิลปะ ชุด สัญลักษณ์ทดแทนความรู้สึกโศกเศร้าจากการสูญเสีย

ผู้แต่ง

  • ดวงหทัย พงศ์ประสิทธิ์ คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

ศิลปะร่วมสมัย, สัญลักษณ์ในงานศิลปะ, ความโศกเศร้าจากการสูญเสีย

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการแปลความหมายสัญลักษณ์ที่ปรากฏอยู่ในผลงานศิลปกรรมร่วมสมัยสื่อถึงความทุกข์จากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก มีวัตถุประสงค์เพื่อนำความรู้ที่ได้รับจากการแปลความหมายสัญลักษณ์ในงานศิลปะร่วมสมัยจำนวน 3 ชิ้น ของศิลปิน 3 คน ได้แก่ ฟรีดา คาห์โล มณเฑียร บุญมา และอารยา ราษฎร์จำเริญสุข สู่การพัฒนาผลงานศิลปะ ชุดสัญลักษณ์ทดแทนความรู้สึกโศกเศร้าจากการสูญเสีย

          ผู้วิจัยสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความทุกข์จากการสูญเสียบุคคลที่รักในระยะก่อนและในช่วงดำเนินการวิจัยจำนวน 5 ชิ้น (ก่อนเริ่มดำเนินการวิจัย 3 ชิ้น และระหว่างการดำเนินการวิจัย 2 ชิ้น) และสร้างสรรค์ผลงานอีกจำนวน 5 ชิ้น จากการนำองค์ความรู้ในการแปลความหมายสัญลักษณ์ของผลงานกรณีศึกษา พบว่า 1) การใช้สัญลักษณ์ด้านเนื้อหามีความเชื่อทางวัฒนธรรมดั้งเดิมของศิลปินเข้ามาเกี่ยวข้องกับกระบวนการคิดของเนื้อหานั้น ๆ 2) การใช้สัญลักษณ์ด้านรูปแบบด้วยรูปทรงที่ตัดทอนมาจากความเป็นจริงเพื่อแสดงความเชื่อมโยงในมิติความจริงและมิติทางความรู้สึก 3) สัญลักษณ์ที่เป็นกระบวนการทางเทคนิคและวิธีการในการสร้างสรรค์ เช่น การใช้วัสดุอุปกรณ์สร้างเทคนิคที่มีความผูกพันต่อความทรงจำในอดีต เป็นต้น ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ผลงานสร้างสรรค์ของตนเอง โดยอาศัยทฤษฎีปฏิกิริยาความโศกเศร้าจากการสูญเสียของ คูเบลอร์ - รอสส์ จิตแพทย์ชาวสวิส - อเมริกัน ประกอบกับการวิเคราะห์สัญลักษณ์ ดังนี้ 1) ระยะของการไม่ยอมรับความจริงในเหตุที่ก่อให้เกิดความทุกข์ สัญลักษณ์ที่แสดงออกมีรูปแบบเป็นนามธรรมมากกว่ารูปธรรม 2) ระยะของการหาสิ่งทดแทนอารมณ์เศร้า มีการใช้พื้นผิวที่แสดงอารมณ์ความรู้สึก การใช้สีแทนความหมาย ความทรงจำ และการสร้างบรรยากาศที่ย้อนให้คิดถึงอดีต 3) ระยะของการยอมรับความสูญเสียที่เกิดขึ้น สัญลักษณ์แสดงออกเป็นลักษณะรูปธรรมมากกว่านามธรรม เช่น คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ฯลฯ เพื่อใช้แทนค่าความหมายใหม่ทดแทนอารมณ์โศกเศร้า 

          ผลการวิจัยพบว่า การนำองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาผลงานของศิลปินกรณีศึกษา ทำให้เข้าใจกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะโดยการใช้สัญลักษณ์แทนเรื่องราวต่าง ๆ สามารถสร้างสรรค์ผลงานถ่ายทอดเรื่องราวที่ซ่อนเร้นในจิตใจ และเป็นการบำบัดความทุกข์อันเกิดจากอารมณ์เศร้าโดยเฉพาะอารมณ์ความรู้สึกโศกเศร้าที่เกิดจากการสูญเสียคนรัก

References

ชนาภัณฑ์ ธรรมรัฐ. (2560). เมื่อคนที่รักมาจากไป จะมีชีวิตอยู่ต่อไปอย่างไร? วิธีรับมือกับความโศกเศร้าจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 5 มกราคม 2563. เข้าถึงจาก https://thestandard.co/howto-deal-with-the-sadness-of-losing/

ตรีนุช อิงคุทานนท์. (2563). ฟรีด้า คาห์โล : สตรีที่เล่าชีวิตแสนเจ็บปวดผ่านงานศิลปะ. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2563. เข้าถึงจาก https://thepeople.co/a-sad-story-of-frida-kahlo/

ตะเกียงดอทคอม. (2563). ฟรีดา คาห์โล ศิลปินหญิงใจแกร่งแม้อาภัพผู้เขียนภาพสุดงามสะท้อนความเจ็บช้ำ. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 5 มกราคม 2563. เข้าถึงจาก https://www.takieng.com/stories/19456

ต้นตาวันพันดาว. (2553). ต้นตะวันพันเรื่องราว. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2563. เข้าถึงจาก https://tontawanpandow.blogspot.com/2010/09/2.html?m

ภัทรพร เลี่ยนพานิช. (2557). สูจิบัตรนิทรรศการ Depressed Giant. กรุงเทพฯ

วัชราพร อยู่ดี. (2556). “การแปรค่าอารมณ์สู่การสร้างสรรค์งานศิลปะ : กรณีศึกษาผลงานศิลปะชุด ความเศร้าอันงดงาม”. วารสารวิจิตรศิลป์. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 6 มกราคม 2563. เข้าถึงจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/finearts Journal/article/view/77652

Art4d. (2019). ARAYA RASDJARMREARNSOOK. [online]. Retrieved 5 January 2020. from https://art4d.com/2019/05/interviews-araya-rasdjarmrearnsook

Biennial. (1999). Montien Boonma at Liverpool Biennial 1999. [online]. Retrieved 5 January 2020. from https://www.biennial.com/1999/ exhibition/artists/montien-boonma

Boonma. (1997). House of Hope. [online]. Retrieved 2 January 2020. from http://www.artnet.com/magazine/news/ntm3/ntm2-1-9.asp

Burnett, K.,P. (2004). Montien Boonma: Temple of the Mind. [online]. Retrieved 5 January 2020. from http://www.caareviews.org/reviews/698#.Ygo CK99BwdV

Google Arts & Culture. (n.d.). Henry Ford Hospital. [online]. Retrieved 5 January 2020. from https://artsandculture.google.com/asset/henry-ford-hospital-frida-kahlo/kgHTa-02kVhHJA

Kahlo. (1932). Henry Ford Hospital, 1932 by Frida Kahlo. [online]. Retrieved 5 January 2020. from https://www.fridakahlo.org/henry-ford-hospital.jsp

Montien Atelier. (2018). ถ้อยคำจากอดีต สู่ปัจจุบัน. [online]. Retrieved 5 January 2020. From https://www.facebook.com/MontienAtelier/photos/a.1626 444460742736/1721127517941096/?type=3

Poshyananda, A. (2003). Montien Boonma Temple of The Mind. New York: Asia Society.

Rasdjarmrearnsook. (2000). Asia Art Archive, Interview with Araya Rasdjarmrearnsook. Retrieved 2 January 2020. From https://aaa.org.hk/en/ideas/ideas/ interview-with-araya-rasdjarmrearnsook

The Cloud. (2018). อารยานุสติ. [online]. Retrieved 5 January 2020. from https: //readthecloud.co.th/oughts-araya-rasdjarmrearnsook

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-20