การศึกษารูปแบบการเรียนการสอนและกระบวนการวิเคราะห์ทำนองหลักในเครื่องสายไทยของนักศึกษาเครื่องสายไทย ระดับปริญญาตรี วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์

-

ผู้แต่ง

  • ว่าที่ร้อยตรีรัฐสินธุ์ ชมสูง วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

รูปแบบการเรียนการสอน, ทำนองหลัก, การแปรทำนอง

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการเรียนการสอน และกระบวนการวิเคราะห์ทำนองหลักในเครื่องสายไทย 2) ศึกษาผลการเรียนรู้ และสมรรถนะการปฏิบัติการแปรทำนองในการบรรเลงเครื่องสายไทย และ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้กระบวนการวิเคราะห์ทำนองหลักเครื่องสายไทยของนักศึกษาเครื่องสายไทยระดับปริญญาตรี วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ กลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาสาขาวิชาดนตรีศึกษา ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ คัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 8 คน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มซอด้วง กลุ่มซออู้ และจะเข้

               ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการวิเคราะห์ในการแปรทำนองในวงเครื่องสายไทย พบว่า มีกระบวนการอยู่ 5 กระบวนการ ได้แก่ 1) การสอนความรู้ขั้นพื้นฐานทำนองหลัก ประเภทของทำนองหลัก หรือมือฆ้องในลักษณะต่าง ๆ  2) การสอนเรื่อง “ลูกตก” ของทำนองต่าง ๆ และฝึกปฏิบัติได้  3) การสอนเรื่องทาง กลุ่มเสียงปัญจมูลในทฤษฎีดนตรีไทยทั้ง 7 เสียง 4) การสอนเรื่องบทบาทหน้าที่ของการบรรเลงเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายไทย เพื่อให้การสอดประสานทำนองแปรสอดคล้องกัน 5) การสอนเรื่องขอบเขตของเสียงเครื่องดนตรี ความสั้น-ยาว  ของช่วงเสียงเครื่องดนตรีต่าง ๆ ที่ปฏิบัติ 2. นักศึกษามีผลการทดสอบทางด้านทฤษฎี ร้อยละ 90.48 และมีประสิทธิผลสมรรถนะการปฏิบัติ ร้อยละ 87.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และ 3. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ในระดับมากที่สุด ( = 4.70; S.D. = 0.47).

References

เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2542). สังคีตนิยมว่าด้วยดนตรีไทย (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุปผา คำเลิศลักษณ์. (2547). ความพึงพอใจของญาติผู้ป่วยต่อห้องพยาบาลผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลราชบุรี. (รายงานการวิจัย). ราชบุรี: งานพยาบาลผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลราชบุรี.

ประกิจ รัตนสุวรรณ. (2545). การวัดและประเมินผลทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พิชิต ชัยเสรี. (2559). สังคีตลักษณ์วิเคราะห์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนตรี ตราโมท. (2538). ดุริยสาส์นของมนตรี ตราโมท. ม.ป.ท.

มานพ วิสุทธิแพทย์. (2533). ดนตรีไทยวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.

สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (2562). หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา (4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562). ม.ป.ท.

สุเทพ เมฆ. (2541). ความพึงพอใจในบรรยากาศการเรียนการสอนของนักเรียนและครูอาชีวะ ศึกษาเอกชน ประเภทพนิชยกรรมในเขตการศึกษาที่ 12. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-27