วงปี่พาทย์คณะรัตนบรรเลง และการสืบทอดทางดนตรีของนายพิษ รัตนสันเทียะ
-
คำสำคัญ:
วงปี่พาทย์, การสืบทอดทางดนตรี, วงปี่พาทย์คณะรัตนบรรเลง, พิษ รัตนสันเทียะบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้เป็นการศึกษาสภาพปัจจุบันของวงปี่พาทย์ในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วยวงปี่พาทย์ตามจารีตและแบบพื้นบ้าน โดยศึกษาวงปี่พาทย์คณะรัตนบรรเลงด้วยการสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า วงปี่พาทย์คณะรัตนบรรเลง ก่อตั้งโดยนายพิษ รัตนสันเทียะ และเป็นหัวหน้าวง นักดนตรีประกอบด้วยกลุ่มเพื่อนร่วมสำนัก และศิษย์ มีบทบาทหน้าที่ ในการรับงานพิธีกรรมและประกอบการแสดงในชุมชน
นายพิษ รัตนสันเทียะ ได้รับการสืบทอดทางดนตรีจากครูหลายท่าน ที่สำคัญเป็นศิษย์และนักดนตรีคณะศิษย์เกตุคงของครูบุญยัง เกตุคง ภายหลังเมื่อครูบุญยัง เกตุคง ถึงแก่กรรม จึงก่อตั้งวงปี่พาทย์คณะรัตนบรรเลงของนายพิษ รัตนสันเทียะ ขึ้นมา ด้านการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางดนตรีนั้น นายพิษ รัตนสันเทียะ ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ทางดนตรีให้ลูกศิษย์ 3 กลุ่ม คือกลุ่มครอบครัว กลุ่มศิษย์ที่มาฝากตัว และกลุ่มนักเรียนในระบบการศึกษา การจัดการเรียนการสอนใช้เครื่องดนตรี สื่อ และเทคโนโลยีประกอบการสอน ใช้วิธีการสอนทั้งแบบเก่าและแบบประยุกต์ โดยมีฆ้องวงใหญ่เป็นเครื่องมือแรกในการฝึกหัดตามหลักวิชาการดนตรีไทย ซึ่งฆ้องวงใหญ่ทำหน้าที่ดำเนินทำนองหลักของเพลง โดยผู้สอนตีทำนองแล้วให้ลูกศิษย์ตีตาม มีการใช้กระบวนการทำซ้ำเพื่อให้เกิดทักษะ
References
ธนาคม พจนาพิทักษ์. (2560). การสื่อสารเพื่อการจัดการพัฒนาสังคม. (เอกสารประกอบการสอน). กรุงเทพฯ: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ปรีชา อุยตระกูล. (2541). ของดีโคราช เล่มที่ 1 สาขามนุษยศาสตร์. กรุงเทพฯ: เฟื่องฟ้าพริ้นติ้ง.
มัณฑรา ธรรมบุศย์. (2559). ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์. (เอกสารประกอบการสอน). พระนครศรีอยุธยา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
สมชาย เอี่ยมบางยุง. (2558). การศึกษาดนตรีไทย. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 เมษายน 2564. เข้าถึงได้จาก http://www.smusichome.com/index.php?lay=show&ac =article&Id=118537&Ntype=4
สุรพงษ์ ลือทองจักร. (2552). หลักมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา. (เอกสารประกอบการสอน). อุดรธานี: คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สบศ.