การเจรจาเลียนสำเนียงตามเชื้อชาติที่ปรากฏในละครพันทาง เรื่องราชาธิราช ชุด สมิงพระรามอาสา

-

ผู้แต่ง

  • ภุมรินทร์ มณีวงษ์ วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

การเจรจาในละคร, สำเนียงตามเชื้อชาติ, ละครพันทาง, ราชาธิราช

บทคัดย่อ

               การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมรูปแบบการเจรจาสำเนียงตามเชื้อชาติของตัวละครที่ปรากฏอยู่ในการแสดงละครพันทาง เรื่อง ราชาธิราช ชุด สมิงพระรามอาสา โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเอกสาร การสัมภาษณ์  สื่ออิเล็กทรอนิกส์ การสังเกต และการฝึกปฏิบัติ สรุปผลการวิจัยด้วยรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์ โดยศึกษาบทบาทตัวละคร 3 เชื้อชาติ ได้แก่ มอญ พม่า และจีน    

               จากการศึกษาพบว่า ในการเจรจาเลียนสำเนียงของตัวละครเชื้อชาติต่าง ๆ ในการแสดงละครพันทาง เรื่องราชาธิราช ชุด สมิงพระรามอาสา มี 2 รูปแบบ ได้แก่

               1. รูปแบบการฝึกหัดเลียนสำเนียงแต่ละเชื้อชาติ มีวิธีดังนี้ 1) ผู้แสดงต้องท่องจำบทการแสดงให้ได้ 2) การฝึกหัดกับครูผู้ฝึกซ้อมด้วยการฝึกพูดตาม 3) ใช้วิธีการผันเสียงตามวรรณยุกต์ สระ และตัวสะกด 4) เมื่อพูดได้จึงฝึกปฏิบัติการแสดงต่อไป

               2. รูปแบบการเจรจาเลียนแบบสำเนียงของทั้ง 3 เชื้อชาติ มีวิธีดังนี้ 1) การเจรจาเลียนสำเนียงมอญใช้วิธีการเจรจาด้วยลักษณะการใช้เสียงขึ้นลง ช้าและชัด มีการปรับเสียงวรรณยุกต์ 2) การเจรจาเลียนสำเนียงของพม่าเน้นจังหวะของคำ มีการใช้หางเสียงต่ำเป็นส่วนใหญ่ เน้นการกดเสียงในลำคอ การแบ่งคำ รวมถึงการกระแทกเสียงให้หนักแน่น   3) การเจรจาเลียนสำเนียงของจีน ที่ต้องใช้การผันเสียงของวรรณยุกต์ ตัวสะกดให้มีความสั้นและห้วน มีการแปลงตัวสะกดให้เกิดสำเนียงที่ใกล้เคียง

References

กรมศิลปากร. (2509). บทละคอนเรื่องราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา ฉบับกรมศิลปากร ปรับปรุงใหม่. (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นางสอาด แสงสว่าง). กรุงเทพฯ: ศิวพร.

พูนพิศ อะมาตยกุล. (2555, กันยายน 24). สัมมนาทางวิชาการเรื่องราชาธิราช. [บันทึกเสียง]. กรุงเทพฯ: โรงละครวังหน้า สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

ภุมรินทร์ มณีวงษ์. (2559). วิธีการแสดงและนาฏยลักษณ์บทบาทสมิงนครอินทร์ในละครพันทาง เรื่องราชาธิราช. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการแสดง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ฤทธิเทพ เถาว์หิรัญ. (2556). ศึกษาแนวคิดการออกแบบท่ารำของ ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ตามแบบแผนละครพันทางเรื่อง ผู้ชนะสิบทิศ กรณีศึกษา: ตัวมังราตะเบงชะเวตี้. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

วรรณณิกา ไชยสิงห์ และสุหรรษา มะโนศาล. (2551). สมิงพระรามรบกามนี (ปีการศึกษา2551).ศิลปนิพนธ์ภาควิชานาฏศิลป์ คณะศิลปนาฏดุริยางค์.สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). วิวัฒนาการนาฏยศิลป์ไทยในกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325 - 2477. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

_______. (2553). นาฏยศิลป์รัชกาลที่ 5. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

เสาวณิต วิงวอน. (2555). วรรรคดีการแสดง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-30