การพัฒนาการเล่าเรื่องดิจิทัลสำหรับนักศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • รัฐพล พรหมมาศ คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ประโยชน์ มีสกุล วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

การเล่าเรื่องดิจิทัล, ศิลปวัฒนธรรม, สื่อสังคมออนไลน์

บทคัดย่อ

               บทความวิชาการนี้เป็นการถอดบทเรียนจากโครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน ด้านการใช้เทคโนโลยี ซึ่งเป็นโครงการสำหรับการพัฒนาการเล่าเรื่องผ่านสื่อดิจิทัลสำหรับนักศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมความเข้าใจและพัฒนาการผลิตสื่อการเรียนรู้ให้อยู่ในรูปแบบของการเล่าเรื่องดิจิทัล เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำทักษะการเล่าเรื่องดิจิทัลไปประยุกต์ใช้ในชีวิตการทำงานจริง เนื่องจากการเล่าเรื่องด้วยภาพมิได้จำกัดอยู่เพียงการใช้ภาพถ่ายนิ่ง แต่รวมถึงการใช้ภาพเคลื่อนไหว เสียง บทบรรยาย ดนตรีประกอบ การใช้ตัวอักษรประกอบ รวมถึงงานกราฟิก โดยสื่อทุกประเภทที่ถูกนำมาใช้ในการผลิตต้องสามารถเล่าเรื่องราวได้ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการสื่อสารได้อย่างสอดคล้องกัน มีการลำดับเรื่อง มีโครงสร้างในการเล่าเรื่องที่ชัดเจน การเล่าเรื่องดิจิทัลจึงเป็นการนำเสนอเนื้อหาให้รูปแบบสื่อประสม เพื่อให้เนื้อหาเกิดความน่าสนใจ ผู้รับสารสามารถเข้าใจเรื่องราวตามที่ผู้ส่งสารได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ ซึ่งทักษะเหล่านี้ถือเป็นลักษณะอันพึงประสงค์ของบัณฑิต เมื่อสำเร็จการศึกษาที่นอกจากต้องมีความรู้ความสามารถ และทักษะในวิชาชีพอย่างลุ่มลึกแล้ว ยังต้องสามารถรองรับงานด้านอนุรักษ์พัฒนา สร้างสรรค์  สืบทอดและเผยแพร่มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติให้ดำรงคงอยู่ต่อไป

References

กชกร บุญยพิทักษ์สกุล. (2562). “ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างรู้เท่าทันของนักศึกษาปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล”. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 25, 2: 39-59

ขจิตขวัญ กิจวิสาละ. (2564). “ศาสตร์การเล่าเรื่องในสื่อสารศึกษา”. วารสารศาสตร์, 14, 3: 9-85

ชญานุช วีรสาร. (2560). “การผลิตภาพยนตร์สารคดีด้วยการเล่าเรื่องด้วยภาพ”. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 37, 2: 19-30

ณิชาภัทร จาวิสูตร. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยในสถาบันอุดมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารและการจัดการการอุดมศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เทอดศักดิ์ ไม้เท้าทอง. (2557). “การรู้เท่าทันสื่อ: ทักษะสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21”. วารสารสารสนเทศศาสตร์, 32, 3: 74-91

นิธิดา วิวัฒน์พาณิชย์. (2558). “การพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์”. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 9, 3: 209 – 219

ภัทรี ภัทรโสภสกุล. (2561). การเล่าเรื่องโดยใช้สื่อดิจิทัลในการรายงานข่าวภัยพิบัติของสำนักข่าว CNN. การศึกษารายบุคคลนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

เมตตา แสวงลาภ และคณะ. (2561). “การรู้เท่าทันสื่อของครู: ปัจจัยหรือเงื่อนไขที่เป็นสาเหตุและแนวทางแก้ไขพัฒนา”. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 12, 3: 112-127

รื่นฤทัย รอดสุวรรณ และคณะ. (2560). “เรื่องเล่าและการเล่าเรื่องโนราจากความทรงจำของชุมชนลุ่มทะเลสาบสงขลาตอนล่าง”. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี, 12, 1: 105-127

รุจจนนท์ ทูลพันธ์ (2559). การใช้เทคนิคมัลติมีเดียเพื่อการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน. การค้นคว้าแบบอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่. (2564). โครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนด้านการใช้เทคโนโลยี. วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่.

สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (2562). หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา (4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562). ม.ป.ท.

สุทธิดา มนทิรารักษ์ และคณะ. (2559). “การนำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรม: กรณีศึกษา เส้นทางคลองด่าน บางขุนเทียน”. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 11, 3: 189-218

เอกกนก พนาดำรง. (2562). “การเขียนเรื่องเล่าด้วยเทคนิคการเล่าเรื่อง (Story Telling)”. เวชบันทึกศิริราช, 9, 3: 194-196.

Berlo, David K. (1960). The Process of communication : an introduction to theory and practice. New York: Holt, Rinehart and Winstion.

The Digital Storytelling Association. (2002). The center for digital storytelling. [Online]. Retrieved from https://dsa-web.com

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-30