หมอลำหมู่สังวาทอุบล: การก่อตัวและกระบวนเล่นศิลปะการแสดงจังหวัดอุบลราชธานี
-
คำสำคัญ:
หมอลำหมู่สังวาทอุบล, การก่อตัว, กระบวนเล่นบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับศิลปะการแสดงหมอลำหมู่สังวาทอุบลอันเป็นมรดกของชาวอีสาน ผลการศึกษาพบว่า หมอลำหมู่สังวาทอุบลเป็นศิลปะการแสดงแบบเป็นเรื่องเป็นราว มีตัวละครครบตามบทประพันธ์ แพร่กระจายในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เริ่มก่อตัวเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2490 มีที่มาจาก การแสดงหมอลำหมู่ในแถบภาคอีสานตอนกลาง หมอลำเรื่องต่อกลอน และลิเก ลักษณะเด่นคือ “ทำนองลำ” แต่เดิมมีเพียงสองทำนอง ได้แก่ ลำยาว ลำเดิน และได้เพิ่มลำเต้ยมาภายหลัง ต่อมาแตกแขนงออกเป็น “หมอลำเพลิน” เกิดทำนองลำสองทำนอง ได้แก่ เกริ่นลำเพลิน และเดินลำเพลิน ทั้งนี้ได้เรียกหมอลำหมู่แบบเดิมว่า “หมอลำเวียง”
ด้านกระบวนเล่น มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ออกแขก เป็นการบอกกล่าวว่าจะเริ่มทำการแสดง 2) พากย์เรื่อง เป็นการเกริ่นนำรายละเอียดเรื่องราวที่จะแสดงด้วยผญาอีสาน 3) ดำเนินเรื่อง เป็นการแสดงตามบทประพันธ์เป็นฉากต่าง ๆ จนจบเรื่องหรือหมดเวลาแสดง 4) สรุปเรื่อง/ลำลา เป็นการสรุปเนื้อเรื่องด้วยการลำ การพูด หรือการจ่ายผญา จบด้วยลำลาทำนองลำยาว และ 5) เต้ยลา เป็นกระบวนเล่นสุดท้าย มีความหมายเพื่ออำลาผู้ชม และเพิ่มอรรถรสในการแสดง
References
ณัฐพงษ์ ฉายพล. (2566). ภาพถ่ายหมอลำคณะรังสิมันต์ เรื่อง ศรีธน มโนราห์ เมื่อ พ.ศ. 2517. ม.ป.ท. (อัดสำเนา).
ทิดหมู มักหม่วน. (2564). ศิลปินพื้นบ้าน ภูมิปัญญาอีสาน. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 19 มกราคม 2566. เข้าถึงจาก https://www.isangate.com/new/15-art-culture/artist/771-thongmee-malai.html
ธวัช ปุณโณทก. (2558). วรรณกรรมภาคอีสาน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
วีระพงษ์ วงศ์ศรี. (2564). ภาพถ่ายหมอลำหมู่คณะขวัญใจเพชรอุบล. ม.ป.ท. (อัดสำเนา).
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (ม.ป.ป.). ฐานข้อมูลหมอลำ. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 19 มกราคม 2566. เข้าถึงจาก https://cac.kku.ac.th/cac2021/
สันดุสิทธิ์ บริวงษ์ตระกูล. (2560). “บทความปริทรรศน์ : การสืบทอดสื่อพื้นบ้าน หมอลำเรื่องต่อกลอน”. กระแสวัฒนธรรม, 18, 34: 81-90.
อนุรักษ์ จุลนิล. (2566). ภาพถ่ายหมอลำคณะรังสิมันต์ เรื่อง ศรีธน มโนราห์ เมื่อ พ.ศ. 2517. ม.ป.ท. (อัดสำเนา).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สบศ.