การสังเคราะห์ศิลปนิพนธ์ของนักศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
-
คำสำคัญ:
สังเคราะห์งานวิจัย, ศิลปนิพนธ์, ประเมินคุณภาพ, สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะของศิลปนิพนธ์ 2) เพื่อประเมินคุณภาพของศิลปนิพนธ์ 3) เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ที่ได้จากศิลปนิพนธ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นศิลปนิพนธ์ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ. 2559-2565 และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ในการคัดเลือกที่ผู้วิจัยกำหนด จำนวน 72 เล่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกคุณลักษณะศิลปนิพนธ์ และแบบประเมินคุณภาพศิลปนิพนธ์ เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนธันวาคม 2564 จนถึงเดือนเมษายน 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจงนับความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณลักษณะของศิลปนิพนธ์ ส่วนใหญ่เป็นศิลปนิพนธ์ของสาขาวิชาดนตรีคีตศิลป์ไทยศึกษา (ร้อยละ 65.28) จัดทำในปี พ.ศ. 2562 (ร้อยละ 30.56) มีความยาว 71-130 หน้า (ร้อยละ 51.39) กลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ร้อยละ 44.44) กลุ่มตัวอย่างมีขนาด 1-10 หน่วย (ร้อยละ 43.06) ใช้วิธีสุ่มโดยไม่อาศัยหลักความน่าเป็น (ร้อยละ 72.22) ไม่มีกรอบแนวคิดในการวิจัย (ร้อยละ 62.50) และไม่มีสมมติฐานการวิจัย (ร้อยละ 55.56)
2. คุณภาพศิลปนิพนธ์ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.78, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.44)
3. ผลสังเคราะห์องค์ความรู้ที่ได้จากศิลปนิพนธ์ พบว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ที่ใช้มากที่สุด คือ กลุ่มพฤติกรรมนิยม นวัตกรรมการเรียนรู้เป็นสื่อ เทคนิค/วิธีสอนที่เน้นเทคโนโลยี วิธีการวัดและประเมินผลใช้การทดสอบ
References
จิตตินันท์ บุญสถิรกุล. (2565). "การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับทักษะการแก้ปัญหาของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ตั้งแต่ปี 2554-2563". วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 39, 105: 226-238.
โชติชนะ โพธินิล. (2562). การสังเคราะห์งานวิจัยที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
นงลักษณ์ วิรัชชัย และคณะ. (2552). รายงานการสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาไทย: การวิเคราะห์อภิมาน (Meta-analysis). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
นัทธี เชียงชะนา. (2550). การสังเคราะห์งานวิจัยทางดนตรีศึกษา: การวิเคราะห์อภิมานและการวิเคราะห์เนื้อหา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชราภรณ์ พิลาสมบัติ และดวงกมล จงเจริญ. (2565). “ทักษะการวิจัยของครูนักวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน”. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 7, 1: 166-178.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2564). เทคนิคการวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภัทริน สันทศนะสุวรรณ (2558). การวิเคราะห์อภิมานงานวิทยานิพนธ์ของหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
มัทนียา มูลศรีแก้ว และทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ (2563). “การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการวิเคราะห์อภิมาน”. วารสารวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 37, 101: 171-185.
รัตนะ บัวสนธ์ และคณะ. (2557). “การประเมินคุณภาพวิทยานิพนธ์ของนิสิตระดับดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร”. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16, 1: 120-126.
วสันต์ ทองไทย (2555). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของนักวิจัยอันพึงประสงค์สำหรับนิสิตในระดับบัณฑิตศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
Cooper, H. (2010). Research Synthesis and Meta Analysis A Step-by-Step Approach. (4Th ed.). London: SAGE.
Fraenkel, J.R. and Wallen, N.E. (2003). How to design and Evaluate Research in Education. (5th ed.). Boston: McGraw Hill.
Gall, J.P, Gall, M.D. ang Borg, W.R. (2005). Applying education research. (5th ed.). Boston: Pearson.
Jamie Birt. (2020). What Are Research Skills? Definition, Examples and Tips. [online]. Retrieved 1 January 2023. from: https://www.indeed.com/career-advice/career-development/research-skills
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สบศ.