การสร้างสรรค์กระบวนท่ารบในการแสดงละครรำเรื่องกาตยานี
-
คำสำคัญ:
การสร้างสรรค์กระบวนท่ารบ, ละครรำ, กาตยานีบทคัดย่อ
บทความสร้างสรรค์เรื่อง “การสร้างสรรค์กระบวนท่ารบในการแสดงละครรำเรื่องกาตยานี” มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์กระบวนท่ารบที่ใช้ในการแสดงละครรำเรื่องกาตยานี โดยทำการศึกษาเอกสาร รวบรวม การสังเกต การสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล และดำเนินการสร้างสรรค์ตามขั้นตอน โดยคำนึงถึงการจัดวางองค์ประกอบของการแสดงตามหลักทัศนศิลป์ และปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ จากนั้นนำข้อมูลดังกล่าวมาสร้างสรรค์กระบวนท่ารบซึ่งประกอบด้วยท่าใช้อาวุธและท่าขึ้นลอย ตามเนื้อหาในเรื่องพระอุมาปางปราบมหิงษาสูร เนื้อเรื่องแบ่งออกเป็น 3 องก์ ได้แก่ องก์ที่ 1 อสูรอหังการ์ องก์ที่ 2 พระอุมาอวตาร และองก์ที่ 3 สังหารอสุรา
ผลการสร้างสรรค์พบว่า การสร้างสรรค์กระบวนท่ารบและท่าขึ้นลอยในละครรำเรื่องนี้ มีในการแสดง 2 องก์ ได้แก่ 1) องก์ที่ 1 การต่อสู้กันระหว่างพระอินทร์กับมหิงษาสูร ออกแบบท่าขึ้นลอยให้พระอินทร์ขึ้นไปยืนอยู่ด้านหลังของมหิงษาสูร ส่วนมหิงษาสูรนั่งตั้งเข่า ลงกับพื้น และ 2) องก์ที่ 3 การต่อสู้ระหว่างเทพีกาตยานีกับมหิงษาสูร ออกแบบท่าขึ้นลอยให้เทพีกาตยานีขึ้นไปยืนอยู่ด้านบนของต้นขาด้านซ้ายของมหิงษาสูร ส่วนมหิงษาสูรนั่งตั้งเข่าลงกับพื้น นอกจากนี้ยังมีกระบวนท่ารบก่อนและหลังการขึ้นลอย ทำให้เห็นกระบวนท่ารบ ซึ่งรวมท่าขึ้นลอยด้วยอย่างสมบูรณ์
References
เฉลิมชัย ภิรมย์รักษ์. (2561). การขึ้นลอยในการแสดงโขน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชานาฏยศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรงค์ชัย ปิฏกรัชต์. (2557). สารานุกรมเพลงไทย. นครปฐม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล.
ไพฑูรย์ เข้มแข็ง. (2537). จารีตการฝึกหัด และการแสดงโขนของตัวพระราม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชานาฏยศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภรตมุนี. (2541). นาฏยศาสตร์. (แสง มนวิทูร, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สบศ.