แสงสะท้อนของวัตถุแห่งความศรัทธาในพระพุทธศาสนา
คำสำคัญ:
แสงสะท้อน , วัตถุ, ความศรัทธา , พระพุทธศาสนาบทคัดย่อ
บทความ เรื่อง แสงสะท้อนของวัตถุแห่งความศรัทธาในพระพุทธศาสนา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเรื่องของแสงที่ตกกระทบบริเวณพื้นผิวของวัตถุภายในสถาปัตยกรรม ณ วัดโนนสว่าง อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อสร้างสรรค์ผลงานแสงสะท้อนของวัตถุแห่งความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ด้วยเทคนิคจิตรกรรมสื่อผสมโดยนำเสนอความสัมพันธ์ของแสงและความศรัทธาของศาสนาพุทธ เป็นการศึกษากระบวนการตกกระทบของแสง และการสะท้อนเข้าสู่ดวงตาของมนุษย์โดยใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ซึ่งปรากฏรายละเอียดของวัตถุ และลวดลายของสถาปัตยกรรมทางศาสนาภายในวัดโนนสว่าง อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี เพื่อสร้างสรรค์ผลงานรูปแบบจิตรกรรมสื่อผสม ที่ใช้วัสดุกระจกและกระดาษ สร้างรูปทรง โทนสี แสงเงา ประกายของแสง และลวดลาย ถ่ายทอดความงามที่เกิดจากมุมมองของแสงตกกระทบของสถาปัตยกรรม แสดงถึงมิติความงดงาม ความประณีตของลวดลายศิลปะไทย เพื่อสื่อความหมายถึงความเรืองรอง ความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาที่พุทธศาสนิกชนได้ร่วมใจกันสร้างขึ้น อันเป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ และถือเป็นศูนย์รวมความศรัทธาของชาวพุทธให้คนรุ่นหลังได้เห็นถึงความสำคัญของศาสนาพุทธในสังคมไทย เพื่อการสืบทอดการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาของไทยให้มีความเจริญงอกงาม
References
ชัยยศ จินดากุล. (2562). FAITH a solo exhibition by Chaiyot Jindagun. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2565. เข้าถึงจาก http://www.rama9art.org/artisan/2019/april/faith/index.html
พงศ์ศิริ คิดดี. (2559). “สีแห่งความศรัทธาและสงบสุข”. Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 9, 2: 2271-2288.
พรทวี พึ่งรัศมี และมิตซูโอะ อิเคดะ. (2551). สีและการเห็นสี. กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้นท์.
ภูวษา เรืองชีวิน. (2561). “ลักษณะลาว: เอกลักษณ์ร่วมที่ปรากฏในงานศิลปกรรมไทย-ลาว ในภาคตะวันออกตอนบน”. Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 11, 2: 2497-2512.
รวีพล ประดิษฐ์. (2559). ประกายสีในลวดลาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ฝ่ายผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และตำราวิชาการ กองส่งเสริมวิชาการและงานวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สบศ.