การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมชุด รำโทนของดีโคราช
-
คำสำคัญ:
การพัฒนาหลักสูตร, หลักสูตรฝึกอบรม , รำโทนของดีโคราชบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมชุด รำโทนของดีโคราชเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ ระหว่างก่อนและหลังอบรม และเพื่อศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3 วิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา ที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมชุด รำโทนของดีโคราช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3 วิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) หลักสูตรฝึกอบรมชุด รำโทนของดีโคราช 2) แผนกิจกรรมการฝึกอบรม จำนวน 5 แผน 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ 4) แบบประเมินความเหมาะสมของหลักสูตร และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t - test แบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระจากกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรฝึกอบรมชุด รำโทนของดีโคราช มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( = 4.71, S.D. = 0.41) 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ หลังอบรมหลักสูตรฝึกอบรมชุด รำโทนของดีโคราชสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมชุด รำโทนของดีโคราชโดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.63, S.D. = 0.52)
References
กิจจา เลี้ยงประยูร, ทิพย์วรรณ์ เลี้ยงประยูร และยุพินภรณ์ วงค์ชัย. (2551). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการละเล่นพื้นบ้านรำโทนด้วยกิจกรรมค่าย. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ชญานิน กล้าแข็ง. (2561). การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นนาฎศิลป์สร้างสรรค์ เรื่อง ระบำตำนานพระนางจอมเทียน. ชลบุรี: โรงเรียนเมืองพัทยา 3 เมืองพัทยา.
ชินกฤต ศรีสุข. (2563). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างภาวะผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรม สำหรับนักศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลป คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2555). วิธีวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 9). นครปฐม: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
มธุรดา เอี่ยมสภา. (2558). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน สำหรับมัคคุเทศก์น้อยในจังหวัดสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร คณะครุศาสตร์อุสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วราภรณ์ โอภาโส. (2564). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น เรื่อง ศิลปะการแต่งหน้าเพื่ออาชีพสำหรับนักศึกษากลุ่มวิชางานเสริมสวย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.
วิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา. (2564). ประกันคุณภาพการศึกษา. นครราชสีมา: วิทยาลัยนาฏศิลปครราชสีมา.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). แนวทางการพัฒนาการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.
อารยา องค์เอี่ยม พงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล. (2561). “การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย”. วิสัญญีสาร, 44, 1: 36-42.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ฝ่ายผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และตำราวิชาการ กองส่งเสริมวิชาการและงานวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สบศ.