การฝึกโสตทักษะดนตรีสากลสำหรับผู้เรียนดนตรีไทย

-

ผู้แต่ง

  • ดารารัตน์ หุตะวัฒนะ ภาควิชาดุริยางคศิลป์ศึกษา คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

โสตทักษะ, การฝึกโสตทักษะ, โสตทักษะสำหรับดนตรีไทย

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการนำโสตทักษะดนตรีสากล มาบูรณาการกับธรรมชาติการสอนของดนตรีไทย โดยพบว่า การฝึกโสตทักษะดนตรีสากลสำหรับผู้เรียนดนตรีไทย เริ่มจากกำหนดวัตถุประสงค์การประเมินผล และทฤษฎีดนตรีสากลที่สอดคล้องกับธรรมชาติของดนตรีไทย ตามรูปแบบจังหวะ ทำนอง และการประสานเสียง วิธีการฝึกเน้นการฟัง ร้องหรือตบจังหวะ อ่านโน้ต บันทึกโน้ต ตามที่ได้ยิน จากพื้นฐานไปสู่ความซับซ้อนมากขึ้น ทฤษฎีดนตรีสากลที่เกี่ยวกับการฝึกโสตทักษะดนตรีไทย ได้แก่ ค่าตัวโน้ตและตัวหยุด ประกอบด้วย 1) โน้ตและตัวหยุดตัวกลม โน้ตและตัวหยุดตัวขาว โน้ตและตัวหยุดตัวดำ โน้ตและตัวหยุดตัวเขบ็ต 1 ชั้น โน้ตและตัวหยุดตัวเขบ็ต 2 ชั้น และการประจุด 2) บันไดเสียง ประกอบด้วย บันไดเสียง ซี เพนทาโทนิก และบันไดเสียง ซี เมเจอร์ 3) ขั้นคู่ 2 คู่ 3 คู่ 4 คู่ 5 และคู่ 8 4) การสอดประสานทำนอง 5) อัตราจังหวะ ในอัตราจังหวะธรรมดา 6) สัญลักษณ์ทางดนตรีที่เกี่ยวของกับการบันทึกโน้ต ได้แก่ (1) บรรทัด 5 เส้น (2) กุญแจประจำหลัก ได้แก่ กุญแจซอล (3) เครื่องหมายกำหนดจังหวะ ประกอบด้วยจังหวะ และ (4) เส้นกั้นห้อง และเส้นจบ เมื่อผู้เรียนดนตรีไทยมีความเข้าใจ โสตทักษะดนตรีสากลที่เชื่อมโยงกับธรรมชาติของดนตรีไทยแล้ว จึงเพิ่มเติมเนื้อหาทฤษฎีดนตรีสากลอื่น ๆ รวมถึงสัญลักษณ์ทางดนตรีสากลที่แสดงถึงเทคนิคต่าง ๆ ที่ไม่ปรากฏ ในดนตรีไทย ให้ผู้เรียนดนตรีไทยได้เข้าใจยิ่งขึ้น

References

กนก คล้ายมุข. (2563). แนวทางการจัดการเรียนรู้ดนตรีไทย เรื่องการจัดการเรียนรู้ดนตรีไทยโดยผสมผสานวิธีสอนของภูมิปัญญาดนตรีไทย. พระนครศรีอยุธยา: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2.

ชาคริต เฉลิมสุข. (2562). หลักของทฤษฎีดนตรีไทย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ชมพูนุช จูฑะเศรษฐ์ และสุรพงษ์ บ้านไกรทอง. (2564). “แนวทางการสอนทฤษฎีดนตรีไทย สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น”. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 49, 2: 1-10.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2561). ดนตรีศึกษา หลักการและสาระสำคัญ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิอร เตรัตนชัย. (2562). “การศึกษาการสอนโสตทักษะตามแนวสุดา พนมยงค์”. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 26, 1: 315-345.

ศูนย์สอบเทียบดนตรีแห่งประเทศไทย. (2554). ข้อมูลเกี่ยวกับศูนย์สอบเทียบดนตรีแห่งประเทศไทย หรือ Thailand International Music Examination (TIME). [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 12 มกราคม พ.ศ. 2566. เข้าถึงจาก https://www.timemusicexam.com/th/about/faq.php

Blix, HS. (2013). “Learning strategies in ear training”. NMH-publikasjoner, 4, 10: 97-116.

Karahan, AS. (2014). “The evaluation of synchronous distance ear training compared to the traditional ear training”. Academic journals, 9, 21: 1268-1270.

Wolf, A. &Kopiez, R. (2018). “Development and Validation of the MusicalEar Training Assessment (META)”. Journal of Research in Music Education, 66, 2: 57-58.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-06