การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้นาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ : ซัมเป็ง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา

-

ผู้แต่ง

  • วิไลลักษณ์ ลบลาย นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • จุไรศิริ ชูรักษ์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

คำสำคัญ:

นาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ : ซัมเป็ง, หน่วยการเรียนรู้, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหน่วยการเรียนรู้นาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ : ซัมเป็ง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ของนักเรียน หลังการจัดการเรียนรู้ 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะปฏิบัติของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ กับเกณฑ์ร้อยละ 70 เมื่อเทียบกับคะแนนเต็ม และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยมีแบบแผนการวิจัย และพัฒนา 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ 2) สร้างและ หาคุณภาพหน่วยการเรียนรู้ 3) ศึกษาผลการใช้หน่วยการเรียนรู้นาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ : ซัมเป็ง กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/16 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา จำนวน 30 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย 1) หน่วยการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านความรู้ 3) แบบประเมินทักษะปฏิบัติ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ ค่า t - test แบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระจากกัน ผลการวิจัยพบว่า หน่วยการเรียนรู้นาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ : ซัมเป็ง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย (1) ชื่อหน่วยการเรียนรู้ (2) ผังมโนทัศน์หน่วยการเรียนรู้ (3) ตารางความสัมพันธ์ของมาตรฐานการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้และเวลา (4) เวลาเรียน (5) แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (6) สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ (7) การวัดและการประเมินผล และ (8) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 3 แผน ระยะเวลา 8 ชั่วโมง นอกจากนี้ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านทักษะปฏิบัติการแสดงซัมเป็ง หลังการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 70 และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก

References

กรองทิพย์ เพชรกาศ. (2553). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง น้ำส้มควันไม้มหัศจรรย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยทักษิณ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กัญญา ระติตานนท์. (2552). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การขยายพันธุ์ยางพาราโดยการติดตา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนบ้านโหนด จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

กามีหม๊ะ กาโหนะ. (2553). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง การทำกรงนกเขาชวา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ฆนัท ธาตุทอง. (2550). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น. นครปฐม: เพชรเกษมการพิมพ์.

เฉลา ประเสริฐสังข์. (2544). จิตวิทยาการเรียนการสอน. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ชนาธิป พรกุล. (2545). แคทส์: รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง = CATS: a studentcentered instructional model. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฑิลฎา คงพัฒน์. (2555). “ซัมเป็ง :แม่แบบในการสร้างสรรค์ระบำพื้นบ้านภาคใต้ตอนล่าง”. รูสมิแล, 33, 3, 9-18.

ทิศนา แขมมณี. (2564). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 25). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74. หน้า 1-26.

ภัทราวรรณ ศิริ. (2562). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง วรรณกรรมพื้นบ้านภูเก็ต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยทักษิณ.

วิชัย ตันศิริ. (2547). โฉมหน้าการศึกษาไทยในอนาคต : แนวคิดสำคัญของการปฏิรูปในพระราชบัญญัติการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิชัย ประสิทธิ์วุฒิเวชซ์. (2542). การพัฒนาหลักสูตรที่สานต่อท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: เซ็นเตอร์คิสคัพเวอร์รี่.

อมร สุวรรณชาตรี. (2556). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้โดยใช้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง งานหัตถกรรมจากต้นคลุ้ง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Davies I.K. (1971). Instructional Technique. New York : Mc Graw – Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-06