เส้นสายลายซอ : การประพันธ์เพลงไทยจากความหมายของเส้น
-
คำสำคัญ:
เส้นสาย, ลายซอ, การประพันธ์เพลงไทยบทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง เส้นสายลายซอ : การประพันธ์เพลงไทยจากความหมายของเส้น มีวัตถุประสงค์เพื่อ นำเสนอผลงานสร้างสรรค์เพลงไทยในมิติใหม่ ชุด เส้นสาย ลายซอ ดำเนินการสร้างสรรค์โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากข้อมูลเชิงเอกสารและข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีไทยและศิลปะ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาศึกษาวิเคราะห์แล้วสรุปเป็นหลักความรู้เพื่อนำมาสร้างสรรค์ผลงานการประพันธ์เพลงในมิติใหม่โดยบูรณาการศาสตร์ด้านดนตรีไทยและศิลปะเข้าด้วยกัน ผลงานสร้างสรรค์ชุด เส้นสายลายซอ : การสร้างสรรค์เพลงไทยจากความหมายของเส้น เป็นผลงานสร้างสรรค์ในมิติใหม่ที่ได้จากการบูรณาการศาสตร์ด้านดนตรีไทย และศิลปะเข้าด้วยกัน สังเคราะห์ออกมาเป็นแนวทางการสร้างสรรค์เพลงไทยในมิติใหม่ กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ถอดแบบลายเส้น 2) การใช้ทิศทางลายเส้นเพื่อกำหนดเสียงหลักของทำนอง 3) สร้างสรรค์ทำนองเพลงเส้นสายลายซอ มีความยาวของเพลงทั้งสิ้น 29 ประโยคเพลง ผลงานตามที่นำเสนอในบทความนี้ เป็นโครงทำนองหลักที่สามารถนำไปสร้างสรรค์การประสานทำนองให้เกิดเป็นทำนอง ตามจินตนาการของผู้สร้างสรรค์ได้โดยอิสระและเปิดโอกาสให้เกิดงานสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ได้ไม่จำกัด
References
เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2542). สังคีตนิยมว่าด้วยดนตรีไทย (ฉบับปรับปรุง) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ธนิต อยู่โพธิ์. (2523). เครื่องดนตรีไทย พร้อมด้วยตำนานการผสมวงมโหรี ปี่พาทย์ และเครื่องสาย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
บุษยา ชิตท้วม. (2561). ทฤษฎีดุริยางค์ไทย : องค์ประกอบเพลงไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิชิต ชัยเสรี. (2557). การประพันธ์เพลงไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุกรี เจริญสุข. (2532). จะฟังดนตรีอย่างไรให้ไพเราะ. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.
Torrance. (1964). Education and the creative potential. Minneapolis: The Lund Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ฝ่ายผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และตำราวิชาการ กองส่งเสริมวิชาการและงานวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สบศ.