ประตูแห่งกาลเวลา : ศิลปะการเต้นรำเฉพาะพื้นที่ เพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าสงขลา

-

ผู้แต่ง

  • อรวรรณ โภชนาธาร สาขาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ชุติมา จรชัย สาขาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • เสาวลักษณ์ ล่ำล่อง สาขาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

การแสดงสร้างสรรค์, ศิลปะการเต้นรำเฉพาะพื้นที่, ประตูเมืองสงขลา, ย่านเมืองเก่าสงขลา

บทคัดย่อ

ผลงานสร้างสรรค์ชุด ประตูแห่งกาลเวลา มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะการแสดงในรูปแบบศิลปะการเต้นรำเฉพาะพื้นที่เพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว ย่านเมืองเก่าสงขลา โดยศึกษาความเป็นมาของประวัติความเป็นมาของประตูเมืองสงขลาและวิถีพหุวัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชนย่านเมืองเก่าสงขลา ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญในการเป็นเมืองท่า เป็นแหล่งรวมผู้คนต่างกลุ่มวัฒนธรรมที่อาศัยอยู่ร่วมกันจนกลายเป็น อัตลักษณ์ของเมืองสงขลา และนำมาเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานการแสดง ในรูปแบบการเต้นรำเฉพาะพื้นที่ บอกเล่าพื้นที่ประตูเมืองสงขลาและร่องรอยวิถีวัฒนธรรมในอดีตภายในพื้นที่ย่านเมืองเก่าสงขลา ใช้ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ตอนบน และดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ตอนล่าง ผสมผสานดนตรีสากล และดนตรีจีน ใช้นักแสดงผู้ชาย 4 คน ผู้หญิง 4 คน ออกแบบชุดแต่งกายตามแนวศิลปะน้อยชิ้นแต่ให้คุณค่ามาก เลือกใช้โทนสีน้ำเงินสื่อถึงความสุขุมเยือกเย็น หนักแน่น ของคนสงขลา นำผ้าปาเต๊ะมาตกแต่งเป็นสื่อเชิงสัญลักษณ์ของวิถีวัฒนธรรมภาคใต้ ออกแบบท่ารำเต้นให้สัมพันธ์กับเรื่องราวในพื้นที่ โดยใช้ นาฏยลักษณ์นาฏศิลป์ตะวันตก นาฏศิลป์มาลายู ผสานกับโครงสร้างท่ารำและ การเคลื่อนไหวอย่างธรรมชาติ ใช้ระยะเวลาในการแสดง 5 นาที

References

คณะกรรมการจัดงานวันสงขลา. (2564). วันสงขลา วันวานที่ผ่านมา. สงขลา: สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา

จิรายุทธ พนมรักษ์. (2561). “การถ่ายทอดแนวความคิดด้านการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย ประเภทศิลปะการแสดง เต้นรำเฉพาะพื้นที่ ของ ศาสตราจารย์ ดร.นราพงษ์ จรัสศรี”. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 20, 1: 97-108.

ภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม. (2562). กำแพงและประตูเมืองสงขลา. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 3 มกราคม 2565. เข้าถึงจาก https://www.songkhla-ht.org

สงบ ส่งเมือง. (2522). การพัฒนาหัวเมืองสงขลาในสมัยกรุงธนบุรีและสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2310-2444). สงขลา: โครงการบริการวิชาการ ฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา.

สมชาย เลี้ยงพรพรรณ. (2541). การศึกษาแหล่งทรัพยากรนันทนาการ เพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในบริเวณทะเลน้อย ทะเลหลวง และทะเลสาบสงขลา. สงขลา: ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-06

ฉบับ

บท

บทความงานสร้างสรรค์