Production enhancement of organic rice by the Boon Niyom Ratchathani Asoke Community Warin Chamrab district, Ubon Ratchthani province.
Main Article Content
Abstract
ในการส่งเสริมการผลิตข้าวไร้สารพิษ ชุมชนบุญนิยมราชธานีอโศกได้จัดกิจกรรมแบบครบวงจร เริ่มตั้งแต่การให้ความรู้แก่เกษตรกรจนถึงการส่งมอบข้าวไร้สารพิษให้ร้านค้านำไปจำหน่าย โดยแบ่งกิจกรรมเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 การจัดหาข้าวเปลือกไร้สารพิษ กิจกรรมประกอบด้วย (1) การจัดหาและการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้ปลูกข้าวไร้สารพิษ (2) การส่งเสริมการผลิตข้าวไร้สารพิษ (3) การปลูกข้าวไร้สารพิษ (4) การรวบรวมและเก็บรักษาข้าวเปลือกไร้สารพิษ
ส่วนที่ 2 การจัดจำหน่ายข้าวสารไร้สารพิษ กิจกรรมประกอบด้วย (1) การแปรรูปจากข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร (2) การบรรจุหีบห่อ (3) การจัดการระบบโลจิสติกส์ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การบริหารสินค้าคงคลัง การขนส่ง การตลาด จนถึงการส่งมอบสินค้า (4) การจำหน่ายข้าวสารไร้สารพิษของร้านค้าชุมชนบุญนิยม
การคำนวณต้นทุนการผลิตช้าวไร้สารพิษไม่ได้รวมค่าแรงงาน เพราะการดำเนินงานทุกกิจกรรม แรงงานเป็นอาสาสมัครและสมาชิกชุมชนฯที่ทำงานโดยไม่รับค่าตอบแทน ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามวิถีบุญนิยมและหลักธรรมสัมมาอาชีวะ 5 ได้แก่ (1) การไม่โกง (2) การไม่ล่อลวง (3) การไม่ตลบตะแลง (4) การไม่มอบตนในทางที่ผิด และ(5) การทำงานโดยไม่รับค่าตอบแทน (พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง, 2525. มหาจัตตารีสกสูตร ม.อุ. เล่มที่ 14 หน้า 149 ข้อ 275) ทำให้สามารถมีข้าวสารไร้สารพิษจำหน่ายในราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาดทั่วไปได้ตลอดปี
การจัดกิจกรรมส่งเสริมการผลิตข้าวไร้สารพิษ คำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ผลิตและผู้บริโภคไปพร้อมกัน โดยผู้ผลิตได้รัยผลตอบแทนที่เป็นธรรมและมีสุขภาพดี ส่วนผู้บริโภคสามารถมีข้าวสารไร้สารพิษบริโภคในราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาดทั่วไปได้ตลอดปี
Article Details
Views and opinions appearing in the Journal it is the responsibility of the author of the article, and does not constitute the view and responsibility of the editorial team.
References
เครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษแห่งประเทศไทย. (2547ก). สรุปบทเรียนการอบรมเกษตรกรโครงการพัฒนาศักยภาพ และคุณภาพชีวิตเกษตรกรตามนโยบายพักชำระหนี้เกษตรกรของรัฐบาล. เอกสารถ่ายสำเนาประกอบการประชุมสรุปบทเรียนการอบรมเกษตรกร ณ ชุมชนสันติอโศก วันที่ 6 พฤษภาคม 2547.
_____. (2547ข). รายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ โครงการ พลังกู้ดินฟ้า ประชาเป็นสุข (รหัสโครงการ 46-00826) ปีที่ 1 : 1 สิงหาคม 2546 - 31 สิงหาคม 2547. ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
_____. (2550). รายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ โครงการ พลังกู้ดินฟ้า ประชาเป็นสุข (รหัสโครงการ 48-01726) ปีที่ 2 : 1 มิถุนายน 2548 - 15 กุมภาพันธ์ 2550. ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
_____. (2555). มาตรฐานกสิกรรมไร้สารพิษ. เอกสารถ่ายสำเนาฉบับแก้ไขจากการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ วันที่ 22 กันยายน 2555.
จันทนา อินทปัญญา. (2550). แนวทางการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ ในพื้นที่ตำบลสร้อยละคร อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์. ทุนสนับสนุนงานวิจัย คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ชุติระ ระบอบ. (2553). การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน. สมุทรปราการ : โครงการสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
ธำรงค์ แสงสุริยจันทร์. (2553). วิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงบนพื้นฐานแนวทางบุญนิยมในชุมชนบุญนิยมราชธานีอโศก อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 1(1): 104-129.
_____. (2554). กรณีศึกษา กระบวนการเปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกรหลังจากผ่านโครงการฝึกอบรมแนวทางบุญนิยมโดยชุมชนราชธานีอโศก. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต พัฒนบูรณาการศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
นาวิน โสภาภูมิ. (2547). กสิกรรมไร้สารพิษ ใน อนุสรณ์ อุณโณ (บก.) เกษตรกรรมยั่งยืน : อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมกับปัญหาการเกษตรและอัตลักษณ์ชาวนาไทย. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการจัดงานมหกรรมเกษตรกรรมยั่งยืน.
นิพนธ์ พัวพงศกร และคณะ. (2553). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาแนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของสินค้าเกษตร ภายใต้โครงการศึกษาวิจัยตลอดจนติดตามประเมินผลเพื่อเสนอแนวทาง นโยบายการปรับโครงสร้างการผลิต การค้าและการลงทุน. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
บุญฑวรรณ วิงวอน และคณะ. (2553). การจัดการห่วงโซ่อุปทานเพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผักปลอดสารพิษ อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. งานวิจัยจากทุนสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ. (2548). พัฒนากสิกรรมธรรมชาติ สู่ระบบ เศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ : เอ็ม. แอล. ครีเอชั่น แอนด์ พริ้นติ้ง.
มูลนิธิธรรมสันติ. (2557). “โรงบุญมังสวิรัติ 5 ธันวาฯมหาราช ‘ 57 เทิดพระเกียรติในหลวง.” สารอโศก. อันดับ 336: 115-144; ตุลาคม-พฤศจิกายน 2557.
รวิสสาข์ สุชาโต และคณะ. (2556). ข้าวหอมมะลิบรรจุถุง การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานและโครงสร้างตลาด. สมพร อิศวิลานนท์และคณะ(บก.) เอกสารเผยแพร่ชุดโครงการ การเสริมสร้างความเข้มแข็งงานวิจัยเชิงนโยบายการเกษตร. กรุงเทพฯ : สถาบันคลังสมองของชาติ ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
รินธรรม อโศกตระกูล. (2549). ระบบบุญนิยมในชุมชนราชธานีอโศก จังหวัดอุบลราชธานี : นวัตกรรมสังคมจากภูมิปัญญาพุทธ. งานวิจัยจากทุนสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.
วิชัย ไชยมี. (2552). การจัดการโซ่อุปทานและดำเนินงาน. นนทบุรี : ทีพีไอเอ็ม.
______. (2525). พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ มหาจัตตารีสกสูตร เล่มที่ 14. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรมการศาสนา.
สถาบันบุญนิยม. (2552). ธรรมนูญบุญนิยม พ.ศ. 2550. กรุงเทพมหานคร: ฟ้าอภัย.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2554). ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. https://www.oae.go.th/more_news.php?cid=444. เมษายน 2554.
สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว. (2557). หลักการผลิตข้าวอินทรีย์. https://www.brrd.in.th/rkb/organic%20rice/index.php-file=content.php&id=4.htm. กุมภาพันธ์ 2557.
Sanders, Nada R. (2012). Supply Chain Management: A Global Perspective. USA: John Wiley & Sons.