การพัฒนาแบบวัดความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปทุมธานี เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนาแบบวัดความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 มีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ 1) เพื่อสร้างแบบวัดความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ 3) เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติสำหรับแปลความหมายคะแนนจากแบบวัดความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์และ 4) เพื่อจัดทำคู่มือการใช้แบบวัดความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพและพัฒนาเกณฑ์ปกติของแบบวัด คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำนวน 592 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยแบบวัดที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย ข้อคำถาม 75 ข้อ เพื่อวัดความคิดรวบยอด จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่ พื้นที่ผิวและปริมาตร จำนวน 69 ข้อและความคล้าย 6 ข้อ ตามลำดับ ผลการวิจัย มีดังต่อไปนี้ 1) ความตรงเชิงเนื้อหาของแบบวัดความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์จากการคำนวณค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับความคิดรวบยอดที่มุ่งวัด พบว่า ข้อคำถาม ในแบบวัดมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.60-1.00 2) ค่าความยากง่ายของข้อคำถามมีค่าตั้งแต่ 0.34 - 0.79 3) ค่าอำนาจจำแนกของข้อคำถามมีค่าตั้งแต่ 0.20-0.77 4) ค่าความเที่ยงของแบบวัด พบว่า แบบวัดความคิดรวบยอด เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตรและเรื่อง ความคล้าย มีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.92 และ 0.73 ตามลำดับ 5) เกณฑ์ปกติสำหรับแปลความหมายคะแนนของแบบวัดความคิดรวบยอดในรูปของคะแนนมาตรฐานทีปกติ มีค่าตั้งแต่ T3 - T91 และ 6) คู่มือการใช้แบบวัดความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ มีความเหมาะสมมีส่วนประกอบสำคัญครบถ้วน อ่านเข้าใจง่าย และสะดวกในการนำไปใช้งาน
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ