การสร้างแบบวัดการคิดวิเคราะห์วิชาฟิสิกส์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

Kanokporn Praputtam
Warunee Lapanachokdee
Ekgapoom Jantarakantee

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบวัดการคิดวิเคราะห์วิชาฟิสิกส์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมกับตรวจสอบคุณภาพ สร้างเกณฑ์ปกติและสร้างคู่มือการใช้แบบวัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 799 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน แบบวัดที่สร้างขึ้นประกอบด้วยข้อคำถาม 50 ข้อ เพื่อวัดการคิดวิเคราะห์ในรายวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ประกอบด้วยการคิดวิเคราะห์ 5 ด้าน ด้านละ 10 ข้อ ได้แก่ ด้านการเปรียบเทียบ ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการวิเคราะห์ข้อผิดพลาด ด้านการสรุปหลักเกณฑ์ทั่วไป และด้านการสรุปหลักเกณฑ์เฉพาะ ผลการวิจัยพบว่าแบบวัดที่สร้างขึ้นมีคุณภาพ มีความตรงตามเนื้อหาโดยข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.60-1.00 ความยากง่ายมีค่าตั้งแต่ 0.32-0.72 อำนาจจำแนกมีค่าตั้งแต่ 0.34-0.77 มีความตรงตามโครงสร้าง โดยมีค่า ที่ df เท่ากับ 1,066 มีค่าเท่ากับ 1,061 (P=0.53351) Standardized RMR มีค่าเท่ากับ 0.044 RMSEA มีค่าเท่ากับ 0.00 GFI มีค่าเท่ากับ 0.90 และAGFI มีค่าเท่ากับ 0.88 แบบวัดมีค่าความเที่ยงและเกณฑ์ปกติรายด้าน ได้แก่ การเปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ การวิเคราะห์ข้อผิดพลาด การสรุปหลักเกณฑ์ทั่วไป และการสรุปหลักเกณฑ์เฉพาะ มีค่าเท่ากับ 0.94 0.75 0.81 0.71 และ 0.76 เกณฑ์ปกติ มีค่าตั้งแต่ T13-T78 T12-T81 T13-T84 T11 –T80 และT13-T82 ตามลำดับ ส่วนความเที่ยงรายฉบับเท่ากับ 0.94 และเกณฑ์ปกติรายฉบับมีค่าตั้งแต่ T4-T88 คู่มือการใช้แบบวัดมีความเหมาะสมมีส่วนประกอบครบถ้วน อ่านเข้าใจง่าย และสะดวกในการนำไปใช้งาน

Article Details

How to Cite
Praputtam, K., Lapanachokdee, W., & Jantarakantee, E. (2018). การสร้างแบบวัดการคิดวิเคราะห์วิชาฟิสิกส์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารรัชต์ภาคย์, 12(27), 152–169. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/view/162578
บท
บทความวิจัย