บทบาทของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยในการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาบทบาทที่ผ่านมาของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (2) เพื่อสังเคราะห์บทบาทที่เหมาะสมของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในการให้เอกชนร่วมลงทุน โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research methodology) ผู้วิจัยได้พิจารณาคัดเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) ในการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) ได้แก่ ผู้บริหารและบุคลากรจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย รวมถึงหน่วยงาน ภาคเอกชนที่ลงทุนหรือให้ความร่วมมือในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการ เป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณสมบัติตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
ผลการศึกษา มีดังนี้ 1. ผลการศึกษาบทบาทที่ผ่านมาของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในอดีตจะเป็นบทบาทของการเป็นหน่วยงานที่จัดการให้มีโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีหน้าที่ในการสร้างหรือจัดให้มีด้วยวิธีการใด ๆ ตลอดจนบำรุงและรักษาทางพิเศษ จัดดำเนินการหรือควบคุมธุรกิจอันเกี่ยวกับการขนส่งโดยรถรางเดียวและรถใต้ดิน ดำเนินงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับทางพิเศษ ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด โดยรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับโดยทั่วไปของกิจการ ภายหลังมีการบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 การทางพิเศษแห่งประเทศไทยถูกกำหนดให้มี (1) บทบาทในการเสนอโครงการ (2) บทบาทการดำเนินโครงการ และ (3) บทบาทการกำกับดูแลและติดตาม
2. ผลการศึกษาบทบาทของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ ผู้วิจัยได้ศึกษาพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 พบว่าข้อกฎหมายนั้นกำหนดให้มีการปรับบทบาทของหน่วยงาน เป็นหน่วยงานด้านการปฏิบัติการ (Operator) มีหน้าที่ในการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีบทบาทดังนี้ (1) บทบาทในการเสนอโครงการ (2) บทบาทในการดำเนินโครงการ (3) บทบาทในการคัดเลือกภาคเอกชน (4) บทบาทในการกำกับดูแลและติดตามผล และ (5) บทบาทในการแก้ไขและทำสัญญาใหม่ ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาบทบาทของหน่วยงานในการดำเนินโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การให้เอกชนร่วมลงทุนและแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ โดยมีการศึกษาการดำเนินโครงการจำนวน 3 โครงการ (1) โครงการทางพิเศษกะทู้-ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต (2) โครงการทางพิเศษดาวคะนอง – พระราม 3-วงแหวนรอบนอก กรุงเทพมหานครด้านตะวันตก และ (3) โครงการทางพิเศษขั้นที่ 3 สายเหนือตอน N2 และ E-W corridor ด้านตะวันออก
3. ผลการศึกษาปัญหาอุปสรรคของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ ได้กำหนดประเด็นในการศึกษาโดยมีรายละเอียดดังนี้ (1) ปัญหาด้านกฎหมาย (2) ปัญหาด้านความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศ (3) ปัญหาด้านการเมือง และ (4) ปัญหาด้านการบริหารการจัดการ
4. ข้อเสนอแนะและส่งเสริมบทบาทของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (1) การทางพิเศษแห่งประเทศไทยควรตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและควรเร่งแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน (2) การทางพิเศษแห่งประเทศไทยควรมีการปฏิรูปโครงสร้าง และ (3) การทางพิเศษแห่งประเทศไทยควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ให้เข้ามามีบทบาทในคณะกรรมการกำกับดูแล
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
servants, politicians, and people. Bangkok: Chulalongkorn University.
Charoenpornpattana, S. (2008). Public Private Partnership (PPP). Retrieved June 20, 2016, from
https://chsanti.files.wordpress.com/2008/10/ppp_concept_santi.doc
Chantawanit, S. (2013). Documentary analysis in qualitative research. Bangkok: Chulalongkorn University.
Denzin, N. K. (1978). The research act: A theoretical introduction to sociological methods. New York:
McGraw-Hill.
Expressway Authority of Thailand Act B.E. 2550 (2007). The Government Gazette, 125(4a).
Kenneth, H. B., & Spencer, J. (1983). The one minutes manager. New York: Berkley Books.
Mintzberg, H. (1989). Mintzberg on Management: Inside Our Strange World of Organizations. New York: Free
Press.
State Enterprise Policy Office. (2017). Strategic State Enterprise Plan. Bangkok: State Enterprise Policy Office.
Susomboon, C. (2015). Joint investment between public and private sectors, and development of Science,
Technology and Innovation of the country. Retrieved June 20, 2016, from http://www.sti.or.th
/uploads/content
Prachyapruit, T. (2010). Comparative Public Administrations: Tools for managing and development the country.
Bangkok: Intapas.
Prachyapruit, T. (2012). Development administration. Bangkok: Chulalongkorn University.
Private Investments in State Undertakings Act B.E. 2556 (2013). The Government Gazette, 130 (31a).
Public Private Partnership Strategic Plan B.E. 2560-2564 (2017-2021). The Government Gazette, 134 (325d).
Weber, M. (1947). The Theory of Social and Economic Organizations. New York: The Free Press.