ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันในองค์กรของบุคลากรกองบัญชาการศึกษา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

Main Article Content

Suramon Chancharoen

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยเชิงสาเหตุและความผูกพันต่อองค์กร (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเชิงสาเหตุกับความผูกพันต่อองค์กร (3) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุของความผูกพันต่อองค์กร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบย้อนรอยหาสาเหตุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นบุคลากรกองบัญชาการศึกษา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มาโดยการกำหนดขนาดแบบโควตา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์โดยสมการถดถอยพหุคูณ (multiple regression) แบบ Stepwise ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความผูกพันต่อองค์กรอยู่ในระดับปานกลาง 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร มีความสัมพันธ์ทางบวกรกับความผูกพันต่อองค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร อย่างนัยสำคัญทางสถิติ .05 มี 5 ตัว คือ ภาวะผู้นำ การได้รับโอกาสให้มีการพัฒนาและก้าวหน้าในองค์กร ความพึงพอใจในงาน ค่าตอบแทนโดยรวม และคุณลักษณะงาน โดยสามารถอธิบายได้ร้อยละ 70.10 (R² Adjusted = 0.701) สำหรับปัจจัยด้านการมีความสัมพันธ์ที่ดีในการทำงานไม่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรกองบัญชาการศึกษา

Article Details

How to Cite
Chancharoen, S. (2019). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันในองค์กรของบุคลากรกองบัญชาการศึกษา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วารสารรัชต์ภาคย์, 13(31), 221–231. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/view/225266
บท
บทความวิจัย

References

Burke, Inc. (2016). Research Employee Engagement & Retention Management. Retrieved June 20, 2019, from
http://www.burke.com/Services/EERM/services.cfm?.id=180.

Hewitt Associates. (2004). Employee engagement: Why it matters and what you can do about it. Chicago: IL.

Kaewmanee, S. (2006). Employee Engagement. People Magazine, 27(3), 10-16.

Kecharananta, N. (2008). Organizational behavior. Bangkok: SE-EDUCATION.

Kongkasawat, T. (2007). Will strengthen the bond of people towards the organization. For Quality Magazine, 13
(112), 51–54.

Loke, C. F. (2001). Leadership behaviors: Effect on job satisfaction, productivity and organizational commitment.
Journal of Nursing Management, 9(4), 191-204.

Mungkhang, A. (2014). Factors affecting the organizational commitment of employees: a case study of
employees at a Hotel in Bangkok. Master of Business Administration Thesis, Ramkhamhaeng University.

Nimnuan, C. (2008). Factors Relating to Organizational Commitment of TNT (Thailand) Company Limited. Master of Business Administration Thesis, Phra Nakhon Rajabhat University.

Pongvarin, T. (2014). The company grows with employee engagement. Bangkok: Think Publishing Beyond Books.
Richard, M. (2007). The practice of engagement. Strategic HR Review, 6(1),16-17.

Robertson, M. B. (2019). Employee engagement in the goal setting process: can employee engagement theory
improve the goal setting process?. Doctoral dissertation, University of Liverpool.

Sangoiem, P. (2015). Factors Affecting Job Satisfaction and Organizational Commitment of Academic
Support Personnel at the National Institute of Development Administration. Master of Business
Administration Thesis, Ramkhamhaeng University.

Saritwanich, S. (2006). Modern organizational behavior: concepts and theories. Bangkok: Thammasat University.
Watson, W. (2000). Survey finds seven factors that drive employee commitment. Retrieved April 12, 2019, from
http://compensation.blr.com