การพัฒนาเครื่องตรวจหาวัตถุระเบิดและสิ่งแปลกปลอมใต้ท้องรถ

Main Article Content

พีระพันธ์ รัตนมาลี
เมธีศิน สมอุ่มจารย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาเครื่องตรวจหาวัตถุระเบิดและสิ่งแปลกปลอมใต้ท้องรถยนต์ 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานเครื่องตรวจหาวัตถุระเบิดและสิ่งแปลกปลอมใต้ท้องรถยนต์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนที่ 244 จังหวัดบึงกาฬ จำนวน 20 นาย ที่ปฏิบัติหน้าที่ส่วนหน้า โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เครื่องตรวจหาวัตถุระเบิดและสิ่งแปลกปลอมใต้ท้องรถยนต์ 2) แบบบันทึกประสิทธิภาพการใช้งาน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้งาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยผลการวิจัยพบว่า 1) กล้องซีซีดีสามารถตรวจจับสัญญาณภาพจากใต้ท้องรถยนต์ มาที่จอแสดงผลแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ (1) จอแสดงผลทีวี LCD ขนาด 7 นิ้ว สำหรับเจ้าหน้าที่ใช้งานตัวเครื่อง (2) จอแสดงผลขนาด 18 นิ้ว ที่ทำการติดตั้งชุดรับสัญญาณภาพที่ความถี่ 2.4 Ghz และ (3) จอแสดงผล Smart Phone ขนาด 4.5 นิ้ว ความละเอียดของภาพ 700 TVL ความคมชัด 1.3 ล้านพิกเซล ความไวแสงในที่มืด 0 Lux/F1.2 ให้แสงอินฟราเรดสว่างได้ไกล 30 เมตรส่งสัญญาณภาพไปยังจอแสดงผลได้ในระยะสูงสุด 150 เมตร ใช้งานต่อเนื่องได้ 5 ชั่วโมง ดูภาพได้ทั้งกลางคืนและกลางวัน เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตส่งภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นผ่าน Smart Phone พร้อมกันทีละหลายๆ เครื่องในเวลาเดียวกัน และ 2) ความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อเครื่องตรวจหาวัตถุระเบิดและสิ่งแปลกปลอมใต้ท้องรถยนต์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านเรียงตามลำดับ คือ ด้านการใช้งาน ด้านการทำงาน และด้านการออกแบบ

Article Details

How to Cite
รัตนมาลี พ., & สมอุ่มจารย์ เ. . . (2020). การพัฒนาเครื่องตรวจหาวัตถุระเบิดและสิ่งแปลกปลอมใต้ท้องรถ. วารสารรัชต์ภาคย์, 14(33), 179–190. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/view/240105
บท
บทความวิจัย

References

Boonlua, N. (2010). An Evaluation of the School Based Curriculum on Science of Pratumarnusorn School by Cipp

Model. Master of Education. Department of Curriculum and Instruction. Graduate School, Silpakorn University.

Boonpradab, Y. (2016). The Administration Building Using 5s of Extended Opportunity School in Khlung District

Chanthaburi Province Under Chanthaburi Primary Educational Service Area Office 2. Educational

Administration Program. Faculty of Education Burapha University.

Buachaw, P. (2015). Implementation of 5S Action and Safety Promotion at work of Employees at Compart Precision (Thailand) Company Limited. Master of Business Administration Thesis, Department of Business

Administration, Graduate School, Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage.

Chomcheun, J. (2009). Assessment of School Curriculum Administration in Vocational and Technology Strand

in Grade Level 2 Choomchon Ban Prawnoom School, Mae Chaem District, Chiang Mai Provinc. Master

of Education (Educational Administration). Chiang Mai University.

Department of Academic Affairs. (1993). The development of educational innovation effective for Student learning. Bangkok: Educational Research Division. Department of Academic Affairs, Ministry of Education.

Hukhan, C. (2015). Evaluation of the Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 of the schools under local

administration in Prachuapkirikhan Province. Master of Education Educational Administration Program,

Phetchaburi Rajabhat University.

Khemmee. S. (2017). Renewable Energy Technology Promotion Evaluation in Doi Tung Development Project

Chiang Rai Province. Degree of Master of Science (Technology for Rural Development) Department of

Sustainable Development Technology, Faculty of Science and Technology, Thammasat University.

National Education Commission, Office. (2002). Guidelines for quality assessment in accordance with basic

education standards for internal quality assurance of schools. Bangkok: Printing house, National Buddhism Office.

Nillapun, M. (2017). The Curriculum Evaluation on Doctoral of Philosophy Program in Curriculum and Instruction.

Faculty of Education, Silpakorn University. Faculty of Education, Silpakorn University.

Nontalee, B. (2000). Evaluation of 5S Activities in the Development of Khon Kaen Kindergarten school

administration. Master of Education Thesis Educational Administration Program, Graduate School Khon

Kaen University.

Phutthirat, J. (1991). Job satisfaction of industrial mechanic teachers Polytechnic Under the Department of

Vocational Education. Bangkok: King Mongkut's Institute of Technology North Bangkok.

Thailand Productivity Institute. (1999). 5S Activity Guide Government Productivity Improvement Project. Bangkok: Inno Graphics.