การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาพยาบาลในศตวรรษที่ 21 สถาบันพระบรมราชชนก

Main Article Content

วราภรณ์ ศรีจันทร์พาล
สมบัติ นพรัก
สันติ บูรณะชาติ
น้ำฝน กันมา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาพยาบาลในศตวรรษที่ 21 สถาบันพระบรมราชชนก โดยเป็นการวิจัยและพัฒนา ที่ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน มีวิธีดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาพยาบาลในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้บริหารงานวิชาการ จำนวน 175 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและศึกษาแนวทางของการบริหารงานวิชาการเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาพยาบาลในศตวรรษที่ 21 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็น ผู้บริหารงานวิชาการ จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา 2) การสร้างรูปแบบโดยนำข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 มายกร่าง และตรวจสอบรูปแบบโดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และ 3)การประเมินรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้บริหารงานวิชาการ จำนวน 123 คน ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาพยาบาลในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) บริบทของการบริหารงานวิชาการ หลักการ วัตถุประสงค์ และปัจจัยสู่ความสำเร็จของรูปแบบ 2) ปัจจัยนำเข้า 3) กระบวนการ 4) ผลผลิต 5) ผลลัพธ์ และ 6) ข้อมูลย้อนกลับ โดยผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่ารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาพยาบาลในศตวรรษที่ 21 มีความเหมาะสม และผู้บริหารงานวิชาการมีความเห็นว่าการนำรูปแบบการบริหารงานวิชาการไปใช้มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ดังนั้นจึงควรนำรูปแบบฯ ไปขยายผลในการใช้เพื่อบริหารงานวิชาการให้ได้บัณฑิตพยาบาลที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21

Article Details

How to Cite
ศรีจันทร์พาล ว., นพรัก ส., บูรณะชาติ ส., & กันมา น. (2022). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาพยาบาลในศตวรรษที่ 21 สถาบันพระบรมราชชนก. วารสารรัชต์ภาคย์, 16(49), 164–179. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/view/258657
บท
บทความวิจัย

References

Chaiwong, N., Sri-Ngan, K., & Vajarintarangoon, K. (2021). The Model of Academic Administration of the Faculty of Nursing Rajabhat University, Journal of MCU Peace Studies, 9(4),1383-1395.

Chamchoi, S. (2018). School Administration in the Digital Era. Chulalongkorn University.

Chantra, R., & Sarakshetrin, A. (2017). Learning Skills in 21st Century of Nursing Students at Boromarajonani College of Nursing Suratthani. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(1). 180-190.

Chiangkul, W. (2016). The State of Thai Education in the year 2014/2015: How to Reform Thai Education to Keep up with the World in the 21st Century. Office of the Education Council Secretariat.

Eisner, E. W. (1976). Educational Connoisseurship and Criticism: Their form and Functions in Educational Evaluation. Journal of Anesthetic Educational, 10(3/4), 135-150.

Fridee, R. (2016). Developing Works by Using Peer Feedback. PULINET Journal, 4(2),174-181.

https://pulinet.oas.psu.ac.th/index.php/journal/article/viewFile/211/210

Kanthong, S., Tuntirojnawong, S., & Vijitwanna, S. (2016). Development of Administration Model for Higher Education Institutions Founded on the Amalgamation of Princess of Naradhiwas University. Princess of Naradhiwas University Journal, 8(1),126-139.

https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/52664

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Office of the Higher Education Commission. (2014). Higher Education Internal Quality Assurance Manual 2014. Parbpim.

Phramsiri, R., Pimsarn, N., & Chumworathayee, N. (2016). Model of Academic Administration in Private University for Excellence. Journal of Industrial Eduaction,10(2),106-116.

Prombuasri, P., Malai, C., Chaiyoyingyong, R., & Kitnopkiat, K. (2017). The Development of Quality Management Model Enhancing Educational Quality among Nursing Colleges under the Jurisdiction of Praboromarajchanok Institute Ministry of Public Health. Journal of Nursing and Education, 10(1), 44-63.

Sanguannam, C. (2008). Theory and Practice in School Administration (2nd ed.). Bookpoint.

Sinlarat, P. (2019). Principles of Curriculum and Teaching Management (5th ed.). Chulalongkorn University.

Suthipong, R. (2014). Model of Risk Management in Sports and Recreation in Demonstration Schools under the Higher Education Commission[Doctoral dissertation, Naresuan University].

Tangkunanan, P. (2019). Academic Administration in School for Sustainable Development. Mean Service Supply.

The National Advisory Council on Nurses Education and Practice. (2010). Addressing New Challenges Facing Nursing Education: Solutions for a Transforming Healthcare Environment. Eight Annual Report.

Trilling, B., & Fadel, C. (2009). 21st Century Skills: Learning for Life in Our Times. John Wiley & Sons.

Turale, S. (2011). Preparing Nurses for the 21st Century: Reflecting on Nursing Shortages and Other Challenges in Practical and Education. Nursing and Health Science, 13, 229-231. DOI: 10.1111/j.1442-2018.2011.00638.x

Turner, K., Leungratanamart, L., Reunreang, T., & Rakkwamsuk, T. (2018). Development of a Pedagogical Model to Promote 21st Century Skills of Nursing Students. Nursing Journal of Ministry of Public Health, 28(1), 127-138.

https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/121758

Wannasri, C. (2014). Academic Administration in Educational Institutions. Rattanasuwan.