ปัญหาเขตอำนาจศาลในกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ศึกษากรณีการละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านช่องทางออนไลน์

Main Article Content

อรรฆพร บุญเทียม
กิตติวัฒน์ จันทร์แจ่มใส
ภูมินทร์ บุตรอินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎี หลักการเกี่ยวกับการกำหนดเขตอำนาจศาลและการพิจารณาคดีละเมิดลิขสิทธิ์ในทางแพ่ง (2) ศึกษากฎหมายและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดลิขสิทธิ์ทางออนไลน์ ทั้งในระดับสากลและกฎหมายของประเทศไทย (3) ศึกษาถึงปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาการพิจารณาเขตอำนาจศาลและการพิจารณาคดีของศาลไทยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ และ (4) นำผลการศึกษามาวิเคราะห์หาแนวทางที่เหมาะสมกับประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะการณ์ในปัจจุบันและเป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ศึกษาจากเอกสาร ได้แก่ ตำราทางวิชาการ วารสารทางกฎหมาย บทความที่เกี่ยวข้องและข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จากการศึกษาสรุปได้ว่า กฎหมายไทยยังไม่มีบทบัญญัติโดยเฉพาะที่ครอบคลุมถึงการพิจารณาเขตอำนาจศาลเหนือคดีละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านช่องทางออนไลน์ ทั้งบทบัญญัติที่มีอยู่อันอาจนำมาปรับใช้กับกรณีเช่นว่าก็ยังไม่มีความเหมาะสมเพียงพอ ส่วนปัญหาความซ้ำซ้อนในการพิจารณาคดีก็ไม่มีบทบัญญัติทางกฎหมาย กระทั่งการตีความทางกฎหมายถึงประเด็นดังกล่าวไว้โดยตรงเช่นเดียวกัน ดังนั้น จึงเห็นควรกำหนดหลักการพิจารณาเขตอำนาจศาลกรณีละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านช่องทางออนไลน์และบัญญัติหลักการทางกฎหมายในการพิจารณาคดีเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นต่อไป

Article Details

How to Cite
บุญเทียม อ., จันทร์แจ่มใส ก., & บุตรอินทร์ ภ. (2023). ปัญหาเขตอำนาจศาลในกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ศึกษากรณีการละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านช่องทางออนไลน์. วารสารรัชต์ภาคย์, 17(52), 33–48. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/view/261291
บท
บทความวิจัย
Author Biography

อรรฆพร บุญเทียม, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

 

References

Chunchaemsai, K. (2009). Jurisdiction Concerning Civil and Commercial Matters in Cyberspace: A Comparative Law Study[Master’s Thesis, Thammasat University].

Hitsevich, N. (2015). Intellectual Property Rights Infringement on the Internet: An Analysis of the Private International Law Implications[Doctoral dissertation, University of London].

Pivavatnapanich, P. (2013). Private International Law (3rd ed.). Thammasat University.

Prayong, P. (2016). Characteristics of Selves Depicted in Social Network Sites: Scope of Ideal Self and Real Self. Journalism, 9(1), 7-32.

Porup, J.M. (2019, October 15). What is the Tor Browser? And How it Can Help Protect Your Identity. CSO online. https://www.csoonline.com/article/3287653/what-is-the-tor-browser-how-it-works-and-how-it-can-help-you-protect-your-identity-online.html.

Shalika, C. (2019). Online Copyright Infringement and the liability of Internet Service Providers. SSRN. https://ssrn.com/abstract=3464140 or http://dx.doi.org/10.2139/ssrn.3464140

Srikate, P. (2020). Legal Measures for the Protection of Technology Measures Piracy in Digital Technology. Pathumthani University Academic Journal, 12(1), 396-411.

Sukhum, K. (2019). Are Cover Songs An Act of Infringement?. Department of Intellectual Property: DIP. http://www.ipthailand.go.th