ปัจจัยที่มีผลต่อการมีเงินออมของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย

Main Article Content

วัลลพ ล้อมตะคุ
สิทธิชัย ลีวิวัฒน์วงศ์
สิริเกียรติ รัชชุศานติ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีเงินออมของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสัดส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และแบบจำลองโลจิสติกแบบสองทางเลือก ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีเงินออม ศึกษาในมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศึกษาในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เพศชาย รายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า/เท่ากับ 5,000 บาท แหล่งที่มาของรายได้มาจากครอบครัว และค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า/เท่ากับ 5,000 บาท 2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีความรู้ทางการเงินและพฤติกรรมทางการเงินระดับปานกลาง และมีทัศนคติทางการเงินระดับสูง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีเงินออมกับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่มีเงินออม มีระดับทักษะทางการเงินแตกต่างกัน และ 3) แบบจำลองปัจจัยที่มีผลต่อการมีเงินออมของนักศึกษาฯ มีความเหมาะสม โดยมีความแม่นยำในการทำนายการมีเงินออมของนักศึกษาฯ ได้ถูกต้องถึงร้อยละ 70.7 และปัจจัยที่มีผลต่อการมีเงินออมของนักศึกษาฯ มากที่สุด คือ ปัจจัยด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน และปัจจัยด้านความรู้ทางการเงิน

Article Details

How to Cite
ล้อมตะคุ ว., ลีวิวัฒน์วงศ์ ส., & รัชชุศานติ ส. (2023). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีเงินออมของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย. วารสารรัชต์ภาคย์, 17(51), 192–204. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/view/262277
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

วัลลพ ล้อมตะคุ, สาขาวิชาการเงินและการลงทุน คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

 

 

สิทธิชัย ลีวิวัฒน์วงศ์, สาขาวิชาการเงินและการลงทุน คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

 

 

สิริเกียรติ รัชชุศานติ, สาขาวิชาการเงินและการลงทุน คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

 

 

References

Annamaria, L. (2008). Financial Literacy: An Essential Tool for Informed Consumer Choice?. http://www.dartmouth.edu/~alusardi/Papers/Literacy_ConsumerChoice.pdf.

Bank of Thailand. (2020). Thai Peoples’ Financial literacy survey 2020. https://www.1213.or.th/th/flsurveyreport/2563ThaiFLsurvey.pdf

Chonpitakwong, B. (2019). Financial and Saving Behavior of People in Khonkaen. Thammasat University.

Department of International Economic Affairs, Ministry of Foreign Affairs of the Kingdom of Thailand. (2012). History and Development of OECD. https://www.mfa.go.th/th/content/5d5bcc2715e39c306000a354?cate=5d5bcb4e15e39c3060006872

Hung, A., Parker, A.M., & Yoong, J.K. (2009). Defining and Measuring Financial Literacy. RAND Corporation. https://www.rand.org/pubs/working_papers/WR708.html.

Inlakorn, S (2020). An Analyais of Financial Literacy of the Students at Kasetsart University Sri Racha Campus. Interdisciplinary Sripatum Chonburi Journal, 6(2), 78-90.

Karunapen, S. (2017). Factors Affecting Savings Level and Savings Behaviour of Gen Y[Master’s Thesis, Thammasat University].

Lusardi, A. (2008). Financial Literacy: An Essential Tool for Informed Consumer Choice? (Working Paper). Dartmouth College.

Mahdzan, N. S., & Tabiani, S. (2013). The Impact of Financial Literacy on Individual Saving: An Exploratory Study in the Malaysian Context. Transformations in Business and Economics, 12(1/28), 41-55.

Office of the Higher Education Commission. (2021). Thailand Public University Students. https://info.mhesi.go.th/homestat_std.php

Office of Insurance Commission, Bank of Thailand. (2020). Saving. https://www.1213.or.th/th/moneymgt/save/Pages/save.aspx

Peduzzi, P., Concato, J., Kember, E., Holford, T.R., & Feinstein, A.R., (1996). A Simulation Study of the Number of Events per Variable in Logistic Regression Analysis. J. Clin. Epidemiol. 49, 1373-1379.

Somparnpian, K. (2013). Saving Behavior and Factors Affecting Savings of Outside Workers System in Chatuchak Market[Master’s Thesis, Srinakharinwirot University].