ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้สถานการณ์จำลองที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาแบดมินตันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ชวลิต โล่ห์รักษา
พันธสิริ คำทูล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษา โดยใช้สถานการณ์จำลองที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาแบดมินตันของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี จำนวน 2 ห้องเรียน ได้มาโดยการกำหนดขนาดแบบ การสุ่มแบบกลุ่มหรือพื้นที่ (Cluster or Area Sampling) หลังจากนั้นใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง(Purposive selection) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น แผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้สถานการณ์จำลอง แบบวัดทักษะกีฬาแบดมินตัน และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบความแตกต่างด้วย
ค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลรวมค่าเฉลี่ยของคะแนนการทดสอบทักษะแบดมินตันของกลุ่มทดลอง หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลรวมค่าเฉลี่ยของคะแนนการทดสอบทักษะแบดมินตันหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

Article Details

How to Cite
โล่ห์รักษา ช., & คำทูล พ. (2023). ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้สถานการณ์จำลองที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาแบดมินตันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารรัชต์ภาคย์, 17(54), 266–279. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/view/265546
บท
บทความวิจัย

References

Boonchuwong, Y. (2013). Teaching by Using Simulations. www.pharmacy.cmiJ.ac.th/unit_files/files.56-new.doc

Chan-Em, S. (2013). Developmental Psychology. Thai Wattana Panich.

Good, C. V. (1959). Dictionary of Education (2nd ed.). McGraw-Hill.

Holden, S. (1981). Dream in Language Teaching. Longman.

Khaemmanee, T. (2009). 14 Teaching Methods for Professional Teachers. Chulalongkorn University.

Kongpolprom, W., & Choosakul, C. (2020). The Factors and the Designs of Badminton Players Performance. Academic Journal of Thailand National Sports University, 12(3), 253-266.

Kunaphisit, W. (2018). Curriculum and Learning Management of Physical Education (Revised). Academic Promotion Center.

Ministry of Education. (2008). Basic Education Core Curriculum, 2008. Agricultural Co-Operative Federation of Thailand.

Moonkham, S., & Moonkham, O. (2009). 19 Learning Management Methods: To Develop Knowledge and Skills. Parbpim.

Norkaew, D. (2015). Simulation-Based Learning for Nursing Education. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok, 31(3), 112-122.

Pianchob, W. (2018). Collection of Articles on Philosophy, Principles, Teaching Methods, and Measurements for Physical Education Evaluation. Chulalongkorn University.

Phosuwan, C. (2001). Adult Education: Western Philosophy and Practice. Kasetsart University.

Phothawin, T. (2016). Adolescent Development. Sukhothai Thammathirat Open University.

Pornkul, C. (2011). Teaching Thinking Process, Theory and Application (2nd ed.). Chulalongkorn University.

Suksai, P. (2018). Physical Education Teacher in the 21st Century. FEU Academic Review, 12, (Supplement), 8-21.

Thanaroj, S. (2017). Simulation-based Learning in Principles and Techniques Course in Nursing Practicum. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal, 9(2), 70-84.

Wongpanom, J. (2019). Development of Ability to Play Football Using Simulation for High School Student Athletes[Master's thesis, Dhurakij Pundit University].