ปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุนในตราสารทางการเงินของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย

Main Article Content

วัลลพ ล้อมตะคุ
สิทธิชัย ลีวิวัฒน์วงศ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุนในตราสารทางการเงินของนักศึกษา ระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 496 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน การทดสอบค่าที และแบบจำลองโลจิสติกส์แบบสองทางเลือก ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ไม่มีการลงทุน เป็นเพศหญิง กลุ่มสาขาวิชาที่ศึกษา คือด้านสังคมศาสตร์ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 5,000 บาท เงินลงทุนต่อเดือน น้อยกว่าหรือเท่ากับ 5,000 บาท ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีการลงทุนกับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้ลงทุน มีความรู้ความเข้าใจทางการเงินขั้นพื้นฐาน ความสามารถและความเต็มใจรับความเสี่ยง บุคลิกภาพในการลงทุน ผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุนแตกต่างกัน แบบจำลองปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุนในตราสารทางการเงินของนักศึกษา ระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย มีความเหมาะสม โดยมีความแม่นยำในการทำนาย ร้อยละ 69.60 และปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุนในตราสารทางการเงินของนักศึกษา ระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย มากที่สุดคือ ปัจจัยเงินลงทุนต่อเดือน ปัจจัยความสามารถและความเต็มใจยอมรับความเสี่ยง และปัจจัยด้านความรู้ทางการเงินขั้นพื้นฐาน

Article Details

How to Cite
ล้อมตะคุ ว., & ลีวิวัฒน์วงศ์ ส. (2024). ปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุนในตราสารทางการเงินของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย. วารสารรัชต์ภาคย์, 18(57), 118–129. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/view/265845
บท
บทความวิจัย

References

Bailard, T.E., Biehl, D.L., & Kaiser, R.W. (1986). Personal Money Management (5th ed.). Science Research Associates.

Chainarongdechakul, P. (2014). Factors Influencing Decision to Investment in Stock Exchange of Thailand of Local Individual Investors[Independent study, Master of Business Administration, Thammasat University].

Chanim, P. (2015). Factors Influencing Decision to Investment in Securities of Savers in Bangkok and Perimeter Area[Independent study, Master of Business Administration, Thammasat University].

Kritiyachotipakorn, K., Panichpathom, S., Sriboonjit, J., & Rattanaprichavej, N. (2013). How Customer Perceived Value and Perceived Risk Influence? The Purchase Intention and Willingness to Pay for 30-Years Leasehold Luxury Residences in Bangkok. European Real Estate Society (Eres), 12, 515-521.

Laroche, M., Habibi, M. R., & Richard, M.O. (2013). To Be or Not to Be in Social Media: How Brand Loyalty Is Affected by Social Media?. International Journal of Information Management, 33(1), 76‒82. https://doi.org/10.1016/j.ijinfomgt.2012.07.003

Murphy, P. E., & Enis, B. M. (1986). Classifying Products Strategically. Journal of Marketing, 50(3), 24–42. https://doi.org/10.1177/002224298605000303

Office of the Higher Education Commission. (2022). Number of Thailand Higher Education Students. http://info.mhesi.go.th/info/

Phaksabsri, T., & Mahamad, P. (2018). Factors Affecting the Amount of Investment in the Stock Exchange of Thailand. In The 13th RSU National Graduate Research Conference. (pp.1270-1280). 2018, August 16. Graduate School, Rangsit University.

Peduzzi, P., Concato, J., Kember, E., Holford, T.R. and Feinstein, A.R., (1996). A Simulation Study of the Number of Events per Variable in Logistic Regression Analysis. Journal of Clinical Epidemiology, 49(12), 1373-1379. https://doi.org/10.1016/S0895-4356(96)00236-3

Phuengmuang, S. (2017). Financial Literacy and Attitude of Undergrad Students the Case Naresuan University[Master’s thesis, Naresuan University].

Ritthitraiphop, P. (2015). Factors Affecting Customers’ Investment in Good Corporate Governance Long Term Equity Fund of UOB in Chiang Mai Province[Independent study, Master of Economics, Chiang Mai University].

Tharacheewin, N. (2015). Factors Influencing Individuals Retirement Plan Saving Behavior[Master’s Thesis, Kasetsart University].