การศึกษาความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรมการวัดและประเมินผล การศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ของคณาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

ทรงศรี ชำนาญกิจ

Abstract

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรมการวัด
และประเมินผลการศึกษาตาม TQF:HEd และเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรม
การวัดและประเมินผลการศึกษาตาม TQF:HEd ระหว่างอาจารย์ที่มีประสบการณ์การสอนต่างกัน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี แบ่งเป็นเชิงปริมาณ 203 คน และเชิงคุณภาพ 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบทดสอบ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ
One-Way ANOVA การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย
ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ พบว่า อาจารย์ที่มีประสบการณ์การสอนมากกว่า 5 ปี มีระดับความรู้ความเข้าใจฯ และพฤติกรรมการวัดและประเมินผลการศึกษาฯ สูงที่สุด รองลงมาคือ
3 – 5 ปี และ น้อยกว่า 3 ปี ตามลำดับ อาจารย์ที่มีประสบการณ์การสอนต่างกันมีความรู้
ความเข้าใจและพฤติกรรมการวัดและประเมินผลแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรมการวัด
และประเมินผลการศึกษาตาม TQF:HEd และเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรม
การวัดและประเมินผลการศึกษาตาม TQF:HEd ระหว่างอาจารย์ที่มีประสบการณ์การสอนต่างกัน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี แบ่งเป็นเชิงปริมาณ 203 คน และเชิงคุณภาพ 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบทดสอบ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ
One-Way ANOVA การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย
ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ พบว่า อาจารย์ที่มีประสบการณ์การสอนมากกว่า 5 ปี มีระดับความรู้ความเข้าใจฯ และพฤติกรรมการวัดและประเมินผลการศึกษาฯ สูงที่สุด รองลงมาคือ
3 – 5 ปี และ น้อยกว่า 3 ปี ตามลำดับ อาจารย์ที่มีประสบการณ์การสอนต่างกันมีความรู้
ความเข้าใจและพฤติกรรมการวัดและประเมินผลแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)