Publication Ethics
จริยธรรมการตีพิมพ์บทความ (Publication Ethics)
Ratchaphruek Journal
บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการและกองบรรณาธิการ
1. พิจารณาและตรวจสอบบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์กับวารสารทุกบทความ โดยพิจารณาความสอดคล้อง ของเนื้อหาบทความกับเป้าหมายและขอบเขตของวารสาร ตลอดจนตรวจสอบคุณภาพบทความในกระบวนการประเมินคุณภาพบทความก่อนการตีพิมพ์
2. ต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่ว่าจะเพื่อประโยชน์ในเชิงธุรกิจหรือนำไปเป็นผลงานทางวิชาการของตนเอง
3. ต้องปฏิบัติตามกระบวนการการดำเนินงานของวารสารอย่างเคร่งครัด
4. บรรณาธิการจะต้องตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของบทความอย่างเคร่งครัดก่อนการตีพิมพ์ และจะต้องไม่แก้ไขข้อความในบทความอันทำให้บทความสูญเสียนัยสำคัญของบทความนั้นๆ และให้การสนับสนุนการดำเนินงานของวารสารในทุกภาคส่วน เพื่อให้วารสารมีคุณภาพ
5. ต้องรักษาผลการพิจารณาต้นฉบับบทความและข้อคิดเห็นต่างๆ จากผู้ประเมินบทความไว้เป็นความลับ และไม่อนุญาตให้ใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว
6. หากปรากฏว่ามีความไม่ถูกต้อง หรือการทุจริตเกิดขึ้นกับบทความ และผ่านการตรวจสอบแล้ว บรรณาธิการต้องดำเนินการเพิกถอนบทความนั้นด้วยความชัดเจนที่จะสามารถพิสูจน์ได้ ทั้งนี้ การเพิกถอนนี้ต้องให้ผู้อ่านและระบบฐานข้อมูลอื่นๆ ทราบด้วย
บทบาทหน้าที่ของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ
1. ต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ และพิจารณาบนหลักการและเหตุผลทางวิชาการโดยปราศจากอคติหรือความขัดแย้งส่วนตัว
2. ต้องระลึกไว้เสมอว่าตนเองเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของบทความที่รับประเมินอย่างแท้จริง
3. หากพบว่าบทความที่รับประเมิน เป็นบทความที่คัดลอกผลงานอื่นๆ ผู้ทรงคุณวุฒิต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันที พร้อมแสดงหลักฐานการคัดลอกที่ชัดเจน
4. ต้องรักษาระยะเวลาการประเมินตามกรอบเวลาการประเมินที่วารสารกำหนดอย่างเคร่งครัด รวมถึงไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความให้ผู้อื่นได้รับรู้
5. ต้องประเมินบทความโดยยึดหลักความถูกต้องทางวิชาการและพิจารณาให้ความเห็นทางวิชาการเพื่อให้บทความมีความสมบูรณ์และได้รับการยอมรับทางวิชาการ
6. ต้องคำนึงถึงคุณภาพของบทความที่จะลงตีพิมพ์ เพื่อคงไว้ซึ่งคุณภาพของวารสาร และการพัฒนาต่อยอดวารสารในอนาคต
บทบาทหน้าที่ของผู้นิพนธ์บทความ
1. บทความที่ผู้นิพนธ์ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน
2. ต้องทำการอ้างอิงให้ถูกต้องทุกครั้งเมื่อนำผลงานของผู้อื่นมานำเสนอหรืออ้างอิงประกอบในเนื้อหาบทความของตนเอง และต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น และจะต้องความรับผิดชอบในการอ้างอิงเนื้อหา เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ (หากมีการฟ้องร้องจะเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ทางวารสารจะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น) และจะดำเนินการถอดถอนบทความออกจากการเผยแพร่ของวารสารทันที
3. ผู้นิพนธ์ไม่สามารถนำบทความที่ได้รับการตีพิมพ์กับวารสารราชพฤกษ์แล้วไป ดัดแปลง เพื่อนำไปเสนอการตีพิมพ์ในวารสารอื่น และการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ
4. ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่วารสารราชพฤกษ์ กำหนดในส่วนของสารสนเทศสำหรับการตีพิมพ์บทความ
5. ต้องแก้ไขบทความตามคำแนะนำของกองบรรณาธิการ และผู้ประเมินบทความอย่างเคร่งครัดหากไม่ดำเนินการแก้ไขตามคำแนะนำและตามเวลาที่กำหนด ทางวารสารขอสงวนสิทธิ์ไม่ตอบรับบทความของท่านมาตีพิมพ์และไม่ขอคืนค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น
6. ผู้นิพนธ์ควรยอมรับผลการพิจารณาประเมินบทความของผู้ทรงคุณวุฒิ และบรรณาธิการ
7. ผู้นิพนธ์ ต้องดำเนินการตามจริยธรรมและจรรยาบรรณวารสารวิชาการ โดยไม่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานวิชาการ หรือการคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง หรือมีข้อมูลการวิจัยซ้ำซ้อน ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารราชพฤกษ์ ได้กำหนดค่าเปอร์เซ็นต์ความคล้าย (ทั้งเอกสาร) อ้างอิงจากโปรแกรม CopyCatch จากระบบ Thaijo ในระดับไม่เกิน 15%
จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
การดำเนินการวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ต้องยึดหลักการหรือแนวทางตามหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ โดยที่ผู้วิจัยต้องเคารพสิทธิและศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ ไม่มีการล่วงละเมิดสิทธิ สวัสดิภาพ และไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ตัวอย่างการวิจัยและผู้เข้าร่วมโครงการวิจัย ทั้งนี้ ให้ผู้นิพนธ์ส่งเอกสารการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (เอกสารระบุเลขที่รับรอง) ที่ออกโดยคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (ถ้ามี) ประกอบการพิจารณาการส่งบทความตามกระบวนการของวารสาร
กองบรรณาธิการ Ratchaphruek Journal
สำนักการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา